แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม
แนวคิดทางสังคมและทฤษฎีสังคม
แนวคิดทางสังคม
(Social
thought) หมายถึง
ความคิดของมนุษย์โดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์ ความคิดที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา
จะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
กรณีที่คิดคนเดียวก็ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นด้วย แม้ไม่ยอมรับทั้งหมดก็อาจยอมรับเพียงบางส่วน
ความคิดนั้นจึงคงอยู่ได้ Emory Bogardus ได้ให้ความหมายแนวคิดทางสังคมว่า
“เป็นความคิดเกี่ยวกับการสอบถามหรือปัญหาทางสังคมของบุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน
เป็นการคิดร่วมกันของเพื่อนหรือผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ เป็นความคิดของแต่ละคนและของกลุ่มคน
ในเรื่องรอบตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ต้องคิด
เพื่อหาทางแกปัญหาหรือทำให้ปัญหาบรรเทาลง
ความคิดความอ่านที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาแล้ว และใช้การได้ดี
ก็จะได้รับการเก็บรักษาสืบทอดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง” อาจารย์วราคม
ทีสุกะ ให้ความหมายว่า “แนวคิดทางสังคมเป็นความคิดของมนุษย์
เกิดจากการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนของมนุษย์
เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์โดยทั่วไป และปัญหาที่ประสบ
ความคิดนี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่มนุษย์ ไม่สูญหาย มีการสืบความคิดกันต่อไป”
ประเภทของแนวคิดทางสังคม
ได้เรียบเรียงจากความคิดของ
Bogardus
ได้ 5 ประเภท
เรียกว่า “แนวทางห้าสายของความคิดมนุษย์” (five lines of
human thought) ดังนี้
1. ความคิดเกี่ยวกับจักรวาล
เป็นความคิดของคนโบราณเกี่ยวข้องกับลักษณะของสากล จักรวาล
และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล มนุษย์ยุคโบราณสนใจในศาสนา ในจิตและวิญญาณ
มีความคิดความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ภูต ผี เทวดา ลัทธิศาสนาต่างๆ เช่น
ลัทธิเทพเจ้าองค์เดียว (monotheism) ลัทธิเทพเจ้าหลายองค์ (polytheism) การปกครองโดยสงฆ์ (monotheism) สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เกิดความกลัวและความหวัง
อุดมการณ์และการบูชายันต์ด้วยชีวิต
2. ความคิดเกี่ยวกับปรัชญา
ในขั้นนี้มีระดับความคิดเชิงปัญญาสูงขึ้น
แต่ก็ยังเป็นความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับจักรวาลเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
แต่ไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือไม่ใช่ความคิดที่สนองความจำเป็นทางศาสนา ความเชื่อ
มนุษย์พยายามลดความคลุมเครือ หาความกระจ่างในสิ่งแวดล้อมของจักรวาล
เกณฑ์คำอธิบายต่างๆอย่างมีเหตุผล
หาเอกภาพจากการเปลี่ยนแปลงและหาแก่นสารในความซับซ้อน
มนุษย์ได้พบว่าในยุคนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ
เชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ และรู้ว่าในที่สุดทุกสิ่งจะต้องแตกดับไป
มนุษย์พยายามสร้างความหมายสูงสุดของสิ่งต่างๆอย่างไม่มีอคติตามความรู้ความสามารถที่สูงขึ้นของตน
3.
ความคิดเกี่ยวกับตนเอง
เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและความรู้ทางปรัชญาเพียงพอแล้ว
มนุษย์ก็หวนกลับมาคิดถึงตัวเอง คิดถึงบุคลิกลักษณะ
โครงสร้างและหน้าที่ของการคิดการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติของตนเอง
คิดถึงความฉลาด ความโง่ ความจำ ความฝันและสิ่งต่างๆเกี่ยวกับตนเอง
ซึ่งเป็นที่มาของวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่
4.
ความคิดเกี่ยวกับวัตถุ
ได้แก่ความรู้สึกเกี่ยวกับ หิน ดิน น้ำ อากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์
และมนุษย์จำเป็นต้องรู้จัด เพื่อป้องกันอันตราย หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้
การคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ทำให้มนุษย์ได้บ่อถ่านหิน บ่อน้ำมัน บ่อแก๊ส
นำมาปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง ความคิดความรู้อันแยบยลของมนุษย์
ทำให้มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากวัตถุต่างๆ สามารถควบคุมธรรมชาติได้
นั่นคือที่มาของความคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิดความสะดวกสบาย
5.
ความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์หรือสังคมมนุษย์
ในประวัติศาสตร์มนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์ในลักษณะเป็นกลุ่มน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนที่ทำให้กับเรื่องต่างๆใน 4 ข้อแรก
และได้หันมาสนใจเรื่องของเพื่อนมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้
โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ระหว่างมนุษย์กับสังคม
ภาระหน้าที่ความผูกพันที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม ลักษณะของชีวิตสังคม
แนวโน้มทางสังคม ปัญหาสังคม หลักการ การศึกษาวิเคราะห์สังคม
อันเป็นความคิดพื้นฐานของสังคมศาสตร์ในสังคมสมัยใหม่
ตัวอย่างความคิดทางสังคม
อาจแยกออกเป็นกลุ่ม ดังนี้
1.
ปรัชญาชีวิต
สังคมไทยหรือสังคมอื่นความคิดทางสังคมอาจแสดงออกในรูปของปรัชญาชีวิต หมายถึง เป้าหมายสูงสุดของชีวิต
รวมทั้งแนวทางการไปสู่เป้าหมาย สังคมแต่ละสังคมจะมีปรัชญาชีวิตของสังคมด้วย เช่น
กรณีของสังคมไทย ปรัชญาชีวิตจะเป็นแบบเรียบง่าย รักอิสระเสรี โอบอ้อมอารี
มีศีลธรรม
2.
ศาสนา ความคิดทางสังคมดูจากศาสนาประจำชาติ
ประจำสังคม สังคมไทยคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เรียกว่า พุทธศาสตร์
ครอบคลุมความคิดด้านต่างๆของสังคม ทั้งครอบครัว เศรษฐกิจ การศึกษา
หรือการเมืองการปกครอง
3.
ประวัติศาสตร์
เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความคิดทางสังคม
เป็นข้อมูลที่ประมวลเรื่องราวความเป็นมาของชนชาตินั้นๆ เช่น การจัดชุมชน
การทำมาหากิน การปกครองบังคับบัญชา วิธีต่อสู้ การป้องกันการรุกราน
4.
วรรณคดี
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ข้อมูลทางสังคม
เป็นการบันทึกเรื่องราวทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
นิทาน ตำนาน จะมีแง่มุมแสดงให้เห็นถึงความละเอียดลออต่างๆ
5.
ภูมิปัญญาไทย หรือความรู้พื้นบ้าน
ศึกษาได้จากด้านอนามัย สาธารณสุข เช่น ยาสมุนไพร ความรู้เกี่ยวกับฤดูกาล
เกี่ยวกับต้นไม้ เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ การช่างประเภทต่างๆ การรบ การกีฬา
6.
สุภาษิต เป็นคติ คำพังเพย ปริศนาคำทาย
มีอยู่ในแหล่งต่างๆที่เป็นสังคม ชุมชน
ทฤษฎีสังคม
(Social
Theory)
ความหมายของทฤษฎี
คือ คำอธิบายสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดสำหรับนักวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีจะต้องเป็นคำอธิบายตามหลักเหตุผลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของสิ่งนั้นอย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์สิ่งนั้นในอนาคตได้
ดังนั้น
ความหมายของทฤษฎีสังคม คือ
คำอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตามหลักเหตุผล
และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคน หรือระหว่างคนต่อคน คนต่อกลุ่ม
คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์ได้
ทฤษฎีสังคมตามความหมายดังกล่าว
จึงมีขอบเขตกว้างขวาง เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับคนแต่ละบุคคล กลุ่มคน
ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างๆรวมไปถึงคำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
ข้อสำคัญนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเหตุผล
มีระบบระเบียบพอที่จะเป็นฐานในการพยากรณ์เรื่องทำนองเดียวกันในอนาคตได้ Jame Miley “โดยทั่วไป
ความพยายามที่จะอธิบายส่วนหนึ่งส่วนใดของสังคม (Social life) ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีสังคม” และ Henry P
Fairchild ให้ความหมายว่า “ทฤษฎีสังคม
คือ การวางนัยทั่วๆไปหรือข้อสรุปที่ใช้ได้ทั่วไป
เพื่ออธิบายปรากฏการณ์สังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง”
ทฤษฎีทางสังคมกับแนวคิดทางสังคม
มีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่เหมือนกัน
ดังนี้
ประการแรก
ทฤษฎีทางสังคมเป็นคำอธิบายเรื่องเกี่ยวกับคน หรือความสัมพันธ์ระหว่างคน
ซึ่งเป็นการรู้ระดับหนึ่งที่ยังไม่ถึงขั้นอธิบาย
ประการที่สอง
ทฤษฎีทางสังคม แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคนหรือระหว่างคนต่อคนอย่างมีระบบ
แต่ความคิดทางสังคมไม่กำหนดว่าต้องเป็นเช่นนั้น
ประการที่สาม
ทฤษฎีทางสังคมมีความสามารถพยากรณ์อนาคตได้ แต่ความคิดทางสังคมไม่ถึงขั้นนั้น
ประการที่สี่
ทฤษฎีทางสังคมอาจมีรูปของข้อความที่เตรียมไว้สำหรับการพิสูจน์ด้วยข้อมูลประจักษ์
ทฤษฎีทางสังคมอาจมีทั้งที่เคยตรวจสอบด้วยข้อมูลประจักษ์ หรือยังไม่เคยผ่าน
แต่ได้มีการเตรียมหรือมีลักษณะที่พร้อมจะให้พิสูจน์
กล่าวโดยสรุป
ทฤษฎีสังคม คือ คำอธิบายปรากฏการณ์สังคมอย่างใดอย่างหนึ่งตามหลักเหตุผล
โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของปรากฏการณ์สังคมนั้น จนสามารถที่จะ
พยาการณ์ปรากฏการณ์สังคมในอนาคตได้ ทฤษฎีสังคมมีความหมายกว้างเป็นทฤษฎีของจิตวิทยา
ซึ่งอาจหมายถึงเรื่องของคนแต่ละคนก็ได้ (Psychology studies human interaction of
individuals) หรืออาจหมายถึงทฤษฎีรัฐศาสตร์
ซึ่งเป็นเรื่องของอำนาจของคนหลายคนที่เกี่ยวข้องกัน
หรืออาจหมายถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
อันเป็นเรื่องของคนหลายคนกับวัตถุในการผลิตการจำหน่ายจ่ายแจกผลิตภัณฑ์และบริการในการอุปโภคบริโภคได้
และอาจเป็นทฤษฎีสังคมวิทยา
เป็นเรื่องของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์หรืออาจจะเป็นทฤษฎีของมานุษย์วิทยาเป็นเรื่องของคนที่มีแบบแผนการคิด
การกระทำหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทฤษฎีทางสังคมจึงคล้ายกับแนวคิดทางสังคม
ที่เกี่ยวข้องกับคนและความสัมพันธ์ระหว่างคน รวมทั้งระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม
แต่ก็มีความแตกต่างกันที่ทฤษฎีเป็นข้อความที่เป็นไปตามหลักเหตุผล
มีระบบและพยากรณ์ปรากฏการณ์ในอนาคต
ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยา
(Sociological
Theory)
ความหมายของทฤษฎี สังคมวิทยาอาจมีได้ทั้งความหมายอย่างกว้าง
หรือความหมายอย่างแคบเจาะจง
ทฤษฎีสังคมวิทยาทุกทฤษฎีจะต้องมีลักษณะพื้นฐานเดียวกับทฤษฎีสังคม คือ
ต้องเป็นคำอธิบายปรากฏการณ์สังคมตามหลักเหตุผล มีระบบและพยากรณ์ได้
ตัวอย่างทฤษฎีสังคมอย่างกว้าง คือ ทฤษฎีเชิงสังคมวิทยามหภาพ (Grand
Theroies) ซึ่งเป็นทฤษฎีเชิงบรรยายความ
หากจะพิสูจน์ความจริงก็ต้องนำมาเขียนใหม่ จัดรูป กำหนดสังกัปให้มีจำนวนพอสมควร
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสังกัป แล้วจึงสามารถพิสูจน์ได้ ทฤษฎีสังคมอย่างแคบ คือ
ทฤษฎีสมัยใหม่ยังไม่มีจำนวนน้อย
มีข้อความกระทัดรัดชัดเจนพิสูจน์ได้ด้วยหลักฐานประจักษ์เต็มที ตัวอย่าง
ถ้ามีคนตั้งแต่สองคนหรือมากกว่ามีการกระทำระหว่างกัน ถ้าเขาสามารถพูดคุยกัน
เข้าใจกัน ถ้าการกระทำนั้นยืนยาวเป็นเวลา 15 นาที
หรือนานกว่านั้นแล้ว กลุ่มขนาดเล็กแบบซึ่งหน้า (face-to-face) ก็เกิดขึ้น
ทฤษฎีแบบนี้มีสังกัปจำนวน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสังกัปและคนตามหลักเหตุผล
มีระบบสามารถทำนายเหตุการณ์ข้างหน้าได้ ความหมายของทฤษฎีสังคมวิทยาจึงหมายถึง
คำอธิบายปรากฏการณ์สังคมตามหลักเหตุผล แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ประกอบของปรากฏการณ์นั้นอย่างมีระบบ
จนสามารถพิสูจน์ความจริงนั้นได้
ทฤษฎีสังคมวิทยา
เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่อาศัยลักษณะของความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นหลักในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
เปรียบเทียบทฤษฎีสังคมวิทยากับทฤษฎีสังคม
- เชิงความเป็นวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีสังคมวิทยาจะเน้นลักษณะวิทยาศาสตร์มากกว่า
โดยเฉพาะเมื่อทฤษฎีสังคมวิทยาอยู่ในรูปของทฤษฎีทางการ (formal Therory)
- เชิงลักษณะ
ทฤษฎีทั้งสองประเภทนี้ต่างก็มีรูปแบบบรรยายและมีขอบข่ายกว้าขวางเหมือนกัน
แต่ทฤษฎีสังคมวิทยาจะมุ่งไปที่ลักษณะเล็กกระทัดรัด เป็นรูปแบบที่เหมาะแก่การทดสอบหรือพิสูจน์ความถูกต้องตามแบบปฏิบัติของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
-
เชิงสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ในแง่ที่ว่า
ทฤษฎีสังคมวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสังคม
ความรู้สังคมวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สังคมศาสตร์
แต่ไม่อาจพูดได้ว่าทฤษฎีสังคมทุกทฤษฎีเป็นทฤษฎีสังคมวิทยา
ประเภทของทฤษฎีสังคมวิทยา
Jack Gibbs แบ่งประเภทโดยยึดรูปลักษณะของทฤษฎีเป็นหลัก
โดยแบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทสูตรหรือทางการ (form) ประเภทรูปแบบบรรยาย (discursive
exposition)
Jonathan
Turner แบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาออกเป็นสำนักคิด (schools) 4 สำนักคิด
คือ ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม ทฤษฎีขัดแย้ง ทฤษฎีปริวรรต และทฤษฎีสัญลักษณ์
พร้อมกับสำนักคิดที่กำลังก่อสร้างตัวอีกสำนักหนึ่ง คือ ปรากฏการณ์นิยม
Nicholas Timasheff ใช้วิธีผสมระหว่างสำนักคิดกับประวัติความเป็นมาของความคิดหรือทฤษฎีที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาในประวัติศาสตร์
Paul Reynolds แบ่งทฤษฎีตามเนื้อหาของความเป็นวิทยาศาสตร์
แบ่งทฤษฎีออกเป็น 3 ประเภท คือ กฎ (set-of-laws) สิ่งที่พิสูจน์ว่าเป็นความจริงแล้ว (axiomatic
form) และกระบวนการตามเหตุ (causal process
form)
Poloma
แบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาตามลักษณะของเนื้อหาออกเป็น
3 ประเภท
คือ ประเภทธรรมชาติวิทยาหรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Naturalistic or Positivistic
Theory) ประเภทมนุษย์ธรรมชาติหรือการตีความ (Humanistic or
interpretative Theory) และประเภททฤษฎีประเมินผล (Evaluation
Theory)
ขนาดของทฤษฎีสังคมวิทยา
เพื่อให้ทราบทั้งขนาดของทฤษฎีสังคมวิทยาและอาจรู้วิวัฒนาการของประเภททฤษฎีด้วย
Ian
Robertson นักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ
ได้แบ่งทฤษฎีสังคมวิทยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1. หลักสากลเชิงประจักษ์ (Empirical
generalization) ได้แก่ ทฤษฎีสังคมวิทยาที่ประกอบด้วยประพจน์อย่างหนึ่ง
ซึ่งสร้างขึ้นจากข้อมูลประจักษ์ เช่น
อัตราการเกิดของประชากรในสังคมหนึ่งสังคมใดค่อยๆลดลงเมื่อระดับการเป็นอุตสาหกรรมของสังคมนั้นค่อยๆสูงขึ้น
/ การลดของอัตราการตายของประชากร
ในสังคมใด มักจะมาก่อนการลดลงของอัตราการเกิดของประชากรในสังคมนั้น
2. ทฤษฎีมัชฌิมพิสัย (Middle-Range
Theory) ได้แก่
ทฤษฎีสังคมวิทยาที่ประกอบด้วยหลักสากลภาพเชิงประจักษ์อย่างน้อยสองหลักสากลภาพด้วยกัน
เป็นทฤษฎีขนาดกลางระหว่างทฤษฎีขนาดเล็กที่เรียกว่า หลักสากลภาพกับทฤษฎีใหญ่ที่เรียกว่า
ทฤษฎีสหภาพ
Robert Merton เสนอว่าทฤษฎีกับการวิจัยจะต้องเป็นของคู่กัน
ทฤษฎีที่ปราศจากการวิจัยเป็นทฤษฎีเลื่อนลอย การวิจัยที่ไร้ทฤษฎีก็ไม่มีหลัก
ไม่มีทิศทาง ทฤษฎีขนาดกลางนี้จะช่วยให้สามารถทำวิจัยได้ เพราะมีขนาดพอเหมาะ
เมื่อทำวิจัยสร้างและพิสูจน์ทฤษฎีขนาดกลางแบบนี้มากๆครอบคลุมทุกด้านของสังคม หรือมีจำนวนมากพอแล้วก็อาจสร้างทฤษฎีมหภาพได้ในอนาคต
ตัวอย่างของทฤษฎีขนาดกลางนี้ คือ
การนำเอาหลักสากลสองหลักข้างต้นมารวมกันเป็นทฤษฎีเดียวดังนี้
ประชากรของสังคมที่กำลังกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมจะขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะแรก
หลังจากนั้นแล้วจะค่อยๆคงตัวเมื่ออัตราการตายและอัตราการเกิดเริ่มลดลง
3. ทฤษฎีมหภาพ (Grand Theory) ได้แก่
ทฤษฎีขนาดใหญ่ครอบคลุมชีวิตสังคมทุกด้าน เป็นทฤษฎีที่มีระดับแห่งภาวะสากล
และความเป็นนามธรรมสูงมาก มีสังกัปและประพจน์หรือสากลภาพต่างๆมากมาย
รวมทั้งทฤษฎีขนาดกลางปะปนอยู่มาก ทฤษฎีประเภทนี้มีลักษณะเป็นการบรรยาย
มีคำอธิบายให้เหตุผลประกอบด้วยหลักฐาน ยืนยันความเป็นจริงของทฤษฎี
หากจะทำเป็นหลักฐานสากลภาพ หรือประพจน์ จะต้องมาเรียงเสียใหม่
ทฤษฎีมหภาพอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักสังคมวิทยามีดังนี้ คือ
ก. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม
(Structural-functional Theory)
ข. ทฤษฎีขัดแย้ง (Conflict
Theory)
ค. ทฤษฎีปริวรรต (Exchange
Theory)
ง. ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันโดยใช้สัญลักษณ์ (Symabolic
interactionism)
จ. ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology
or Ethnomethodology)
ทฤษฎีมหภาพเหล่านี้เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่
ดังนั้น จึงสามารถที่จะแบ่งแยกเป็น ทฤษฎีขนาดย่อม กล่าวถึง
เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตสังคม หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งของชีวิตสังคมได้มากมาย
ที่มา : จำไม่ได้ (เจตนาเพื่อเผยแผ่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เท่านั้น)