ฉัน รักเธอ ได้ดีไม่น้อยกว่าใคร ฉัน ใส่ใจ ห่วงใยเธอได้ไม่เป็นรอง
ความรัก ความหวังดี ที่มีไม่เป็นที่สอง แต่ไม่อาจเรียกร้อง จับจองเป็นเจ้าของเธอ
* เพราะเธอมีใครคนนั้น เพราะว่าฉันก็เห็นตำตา เพราะฉันเองที่มาช้า ก็เลยได้แค่ทำใจ
แค่มองตากันก็รู้ ว่ามันเป็นไปไม่ได้ ทั้งที่หัวใจ เราต่างก็ต้องการ
** แค่มาทีหลังเท่านั้น ที่มันเป็นความผิด เพราะแม้แต่ทั้งชีวิต และลมหายใจฉันให้เธอได้ทุกอย่าง
แค่มาทีหลังเท่านั้น ที่ทำให้ฉัน ต้องยอมเดินหลีกทาง ทั้งที่รู้เสมอ ว่าฉันรักเธอไม่แพ้ใครใคร
ฉัน รู้ดี ว่าเธอก็คงมีใจ ไม่มี เหตุผลใด ที่เราไม่คู่ควรกัน
เราคุยกัน ได้ทุกเรื่อง นอกจากเพียงเรื่องนั้น เรื่องของเธอกับฉัน ที่ไม่มีวันได้เป็นจริง
( ซ้ำ * , ** )
แค่มาทีหลัง แต่ยังจะรักเธอตลอดไป
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563
อาชีพนักบัญชีปี 2020
#ปรับตัว
อยู่เฉยๆ ก็กลัวตกงาน
เช้า ตื่นมาอ่านหนังสือ Update เทรนด์ ดูแนวโน้มธุรกิจ
กลางวัน กินข้าว สำรวจร้านกาแฟ
เย็น ดูเพจสูตรอาหาร สูตรการทำธุรกิจ
ทั้งหมดนี่ไม่ใช่อะไร
ถ้าปรับตัวไม่ทัน AI ก็ทำงานแทน
นักบัญชีต้องวิเคราะห์ธุรกิจเป็นเริ่มจากธุรกิจใกล้ตัวคุณก่อน
สรุปอาการและสาเหตุไวรัสโคโรนา
ไวรัสอู่ฮั่น หรือชื่อเต็มว่า Novel Coronavirus 2019 (กลุ่มเดียวกับ “โรคซาร์ SARS”)
📌 สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้
📌 อาการสำคัญ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย
สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
📌 สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้
📌 อาการสำคัญ มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย
สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563
เที่ยวไปในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ถิ่นภาชี ถิ่นแดนนี้ ที่เรารักกัน
ดุจดังสวรรค์ วิมานแมน สนสุขี ทุ่งนาฟ้ากว้าง
ถนนหนทางมีทั่วภาชี รถไฟวิ่งไปเร็วรี่ ท้องถิ่นนี้ภาชีบ้านเรา
คนภาชีต่างก็มีน้ำใจ (บลา บลา)
#คำขวัญประจำอำเภอภาชี
ชุมทางรถไฟ พระใหญ่ดอนกลาง เห็ดฟางภาชี ของดีหลวงพ่อรวย"
#ประวัติอำเภอภาชี
มีที่มาจากบริเวณที่ตั้งของอำเภอเป็นทางแยกของทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเดิมชาวบ้านเรียกว่า "ปาซี" ซึ่งแปลว่า แบ่งหรือแยก
และต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็น "ภาชี"
อำเภอภาชีเป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญ
และเป็นชุมทางของราษฎรที่ตัดมาพักเพื่อที่จะเดินทางไปภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเข้าสู่กรุงเทพมหานคร จึงต้องเดินทางเข้ามายังอำเภอภาชีนี้ก่อน
ในเบื้องต้นได้มีการจัดสร้างที่ทำการอำเภอขึ้นเรียกว่า “ที่ทำการบ้านภาชี”
โดยมีเขตการปกครองประกอบด้วย
ตำบลพระแก้ว ตำบลไผ่ล้อม ตำบลดอนหญ้านาง (ซึ่งเดิมตำบลดังกล่าวขึ้นอยู่กับอำเภอนครหลวง)
ตำบลโคกม่วง ตำบลกระจิว ตำบลหนองน้ำใส ซึ่งขึ้นอยู่กับอำเภออุทัย
ในปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้เห็นความสำคัญของที่ทำการบ้านภาชี
เพราะมีราษฎรอพยพเข้ามาทำมาหากินมากขึ้น
มีภารกิจที่ทางราชการจะต้องดำเนินการมากขึ้นจึงยกฐานะของที่ทำการบ้านภาชี
ขึ้นเป็น “กิ่งอำเภอภาชี” อยู่ในความควบคุมดูแลของอำเภออุทัยมีเขตรับผิดชอบ6 ตำบลได้แก่ ตำบลพระแก้ว กระจิว ดอนหญ้านาง ไผ่ล้อม หนองน้ำใส และโคกม่วง
ต่อมามีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ประชากรหนาแน่นขึ้น และเนื่องจากบริเวณที่ตั้งที่เป็นชุมทางรถไฟบ้านภาชี
มีถนนยุทธศาสตร์
ตัดซอยมาจากถนนพหลโยธิน ยาวประมาณ 19 กิโลเมตร จึงเป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ด้านการคมนาคม
และการค้าขาย จึงยกฐานะจากกิ่งอำเภอภาชีเป็นอำเภอภาชี เมื่อปี พ.ศ.2496 โดยแยกออกจากอำเภออุทัย
ปัจจุบันอำเภอภาชีมีเขตการปกครองรับผิดชอบ 8 ตำบล
คือ ตำบลภาชี ตำบลโคกม่วง ตำบลหนองน้ำใส ตำบลไผ่ล้อม ตำบลดอนหญ้านาง ตำบลระโสม ตำบลพระแก้ว ตำบลกระจิว
#สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอภาชี
วัดตะโก
ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่2 ตำบลดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา สังกัดวัดมหานิกาย มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ซึ่งเป็นพื้นที่ราบ มีหมู่บ้านและท้องทุ่งอยู่โดยรอบ ภายในวัดประกอบด้วย อุโบสถหลังเก่าและหลังใหม่ ศาลากลางเปรียญ ฯลฯ มีพระเกจิที่เชี่ยวชาญสรรพเวชวิทยาและเมตตามหานิยม โชคลาภขอบคุณที่มาจาก
http://www.ayutthaya.go.th/Amphoe/Phachi.html
https://sites.google.com/site/canghwadphrankhrsrixyuthya/xaphex-ni-canghwad/xaphex-phachi/sthan-thi-thxng-theiyw-ni-xaphex-phachi
ร้านกาแฟในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
#สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอภาชี
วัดตะโก
ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่2 ตำบลดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา สังกัดวัดมหานิกาย มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ซึ่งเป็นพื้นที่ราบ มีหมู่บ้านและท้องทุ่งอยู่โดยรอบ ภายในวัดประกอบด้วย อุโบสถหลังเก่าและหลังใหม่ ศาลากลางเปรียญ ฯลฯ มีพระเกจิที่เชี่ยวชาญสรรพเวชวิทยาและเมตตามหานิยม โชคลาภ
#ร้านกาแฟในอำเภอภาชี
#Missing you cafe ตั้งอยู่ตำบลระโสม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เบอร์โทร 035-951519
#Bannpipeprangcafe ตั้งอยู่ตำบลโคกม่วง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เบอร์โทร 084-6551459
#บ้านนากาแฟ@ภาชี ตั้งอยู่ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เบอร์โทร 090-9752823
วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563
ของอร่อยใน อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563
แต่งงานพิธีเช้า ประเพณีสิริมงคลของบ่าวสาว
แต่งงานพิธีเช้า ประเพณีสิริมงคลของบ่าวสาว
การแต่งงาน ประเพณีสำคัญของคนไทยที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่
มีความรับผิดชอบมากขึ้น พร้อมที่จะมีครอบครัวเป็นของตัวเองแล้ว
โดยต้องได้รับการยอมรับจากผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย
ทุกวันนี้น้อยคนนักจะรู้ลำดับพิธีการแต่งงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน
สำหรับพิธีในช่วงเช้าของการแต่งงานนั้น ส่วนมากมักจะเริ่มในช่วงเวลา 09.19 น.
ซึ่งเป็นเลขมงคลที่สุดในการแต่งงาน
งานแต่งพิธีเช้า ลำดับขั้นตอนการแต่งงานแบบไทย
การแต่งงานแบบไทยนั้นเป็นประเพณีที่มีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเยอะมาก
และเป็นประเพณีที่มีเสน่ห์ แต่ในปัจจุบันพิธีอาจมีการปรับเปลี่ยนให้รวบรัดมากขึ้น
มีการหมั้นและพิธีแต่งงานในวันเดียวกันไปเลย 3minutesfood จะมาบอกลำดับพิธีที่อยู่ในงานแต่งงานพิธีเช้าทั้ง
7 พิธี
พิธีสงฆ์ – จะนิยมนิมนต์พระ
9 รูป เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล จะมีการสวดมนต์และตักบาตร จากนั้นก็กรวดน้ำ
รับพรจากพระสงฆ์
พิธีแห่ขันหมาก – ประกอบไปด้วยขันหมากเอก
และขันหมากโท มีขบวนกองยาวนำหน้าเพื่อความสนุกสนานคึกครื้น
และต่อด้วยขันหมากเอกและขันหมากโท พิธีนี้เจ้าบ่าวจะเป็นผู้อยู่ในขบวนแห่
แต่เจ้าสาวต้องรออยู่ที่บ้าน ร้องโห่รับกับ 3 ครั้ง โห่รับ 3 ครั้ง
จากนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะออกไปต้อนรับพร้อมเด็กสาวที่ถือพานไว้ต้อนรับ
และขบวนขันหมากจึงเข้าไปในบ้าน แต่ต้องผ่านประตูเงิน ประตูทอง ก่อน
โดยเจ้าบ่าวต้องเตรียมซองเพื่อขอผ่านประตู ถึงจะเข้าพิธีการถัดไป
พิธีสู่ขอและนับสินสอด – เมื่อผ่านประตูเงินประตูทองแล้ว
ต่อไปเป็นขั้นตอนที่ต้องนำพานมาวางเรียงเพื่อเปิดพานสินสอดและทำการนับสินสอด
ผู้ใหญ่จะมีการโรยข้าวตอก ดอกไม้ ถั่ว งา ใบเงิน ใบทอง ลงในพานสินสอด
และแม่เจ้าสาวจะเป็นผู้ห่อสินสอด และแบกพาดบ่านำไปเก็บตามประเพณี
พิธีรับไหว้ แหวนหมั้น – เป็นพิธีฝากเนื้อฝากตัวของคู่บ่าวสาว
ไหว้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย พ่อแม่ ต้องกราบ 3 ครั้งแบบไม่แบมือ
ส่วนญาติคนอื่นๆ กราบ 1 ครั้ง ไม่แบมือ หลังจากนั้นก็ส่งพานธูปเทียนแพให้ผู้ใหญ่
และผู้ใหญ่จะทำการผูกข้อไม้ข้อมือพร้อมให้พรและซองเงินขวัญถุง
หลังจากไหว้เสร็จก็เป็นการสวมแหวนหมั้น
ฝ่ายเจ้าบ่าวจะสวมแหวนให้เจ้าสวมแหวานให้เจ้าสาวก่อน
และเจ้าสาวก็กราบที่ตักของเจ้าบ่าว และสวมแหวนให้เจ้าบ่าว
พิธีรดน้ำสังข์ – หรือพิธีหลั่งน้ำพุทธมนต์
อันดับแรกจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยก่อน และบ่าวสาวก็ขึ้นไปนั่งที่ตั่ง
เตรียมพิธีรดน้ำสังข์ ประธานในงานสวมมงคลแฝดให้บ่าวสาวและเจิมแป้งที่หน้าผาก
แล้วจึงหลั่งน้ำ และอวยพรบ่าวสาวตามลำดับ
พิธีส่งตัวเข้าหอ – เชิญผู้ใหญ่ที่แต่งงานอยู่กินกันมานาน
ไม่มีเรื่องทะเลาะกันมาทำพิธีปูที่นอน เจ้าบ่าวจะรออยู่ในห้อง
และแม่เจ้าสาวจะทำการส่งตัวเจ้าสาวให้แก่เจ้าบ่าว ผู้ใหญ่ทำการหยิบเครื่องพิธี
ฟักเขียว ครกบดยา ถุงเงิน ถุงทอง ไม้เท้า กลีบกุหลาบมาโปรยลงบนเตียง
คู่ผู้ใหญ่ทำการนอนลงบนเตียงและอวยพร
จากนั้นจึงจูงคู่บ่าวสาวขึ้นเตียงพร้อมกล่าวโอวาสต่างๆ
พิธีฉลองมงคลสมรส – หลังจากทำพิธีต่างๆเรียบร้อยแล้ว
ถึงเวลาในการฉลองมงคลสมรส โดยการจัดเลี้ยงฉลองแบบโต๊ะจีน ค็อกเทล หรือบุฟเฟ่ต์
ตามความสะดวกของเจ้าของงาน
บางคู่อาจจะมีอาฟเตอร์ปาร์ตี้เพื่อความสนุกสนานกับเพื่อนฝูง
รับจัดงานแต่งพิธีเช้า บริการสะดวกสบาย สวยงาม ประทับใจ
ทุกวันนี้การแต่งงานจะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน
มีบริการที่เรียกว่า รับจัดงานแต่งงานพิธีเช้า อยู่ไม่น้อย ซึ่งผู้ให้บริการนี้
จะมีการจัดเตรียมให้ทุกอย่าง ตั้งแต่เริ่มพิธียันจบพิธี พร้อมกับนายพิธีที่มีความชำนาญในการทำพิธี
พร้อมมีการตกแต่งสถานที่ที่สวยงามอีกด้วย เจ้าบ่าว
เจ้าสาวเพียงแค่เตรียมเงินสินสอด และเชิญแขกมางานเท่านั้น
เป็นบริการที่ง่ายและสะดวกสบายมากเลยทีเดียว
วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563
15 แอปพลิเคชัน Android ที่ควรจะมีติดเครื่องไว้อย่างยิ่งแล้วชีวิตจะชิวมาก
1.Laucher App
โปรแกรมหน้าต่างที่เปิดให้ดาว์โหลดมากว่าหลายปีบนแอนดรอย ช่วยให้มือถือของเรามีสีสันมากขึ้น เช่นการเปลี่ยนหน้าจอ อนิเมชั่น และฟีเจอร์ต่างๆ อีกมากมายทำให้มือถือของคุณดูมีระดับขึ้นไปอีก
2.Assistant App
ถ้าไอโฟนมีซิริ แอนดรอย์ก็มี Google Assistant ที่มีความสามารถไม่แพ้กัน แถมเผลอๆ อาจจะฉลาดกว่าด้วยซ้ำ ทำให้กิจกิจกรรมภายส่วนตัวดำเนินไปอย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
3.Swiftkey
โปรแกรมคียบอร์ดที่ทันสมัย มีผู้ใช้กว่า 250 ล้านคน ด้วยความอิสระในการปรับเปลี่ยนรูปแบบแป้นพิมพ์ที่หลากหลาย รวมถึงรองรับหลายภาษามากที่สุด
4.Google Duo
Google Duo เป็นแอปพลิเคชันสนทนาผ่านวีดีโอ ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพสูง แถมฟีเจอร์เด่นอย่าง “Knock Knock” ช่วยแสดงภาพสดจากฝ่ายตรงข้ามก่อนที่เราจะเลือกรับสาย
5.Evernote
Evernote ช่วยให้เราจดบันทึกข้อความสำคัญๆ สามารถแทรกภาพ เสียง ข้อความ วีดีโอ รวมถึงอะไรก็ตามที่ชีวิตประจำวันคุณจะต้องใช้
6.WPS Office
แอปพลิเคชันจัดการเอกสารบนมือถือ ก็คล้าย ๆ กับ Microsoft Word หรือ Microsoft Office เพราะมีเครื่องมือสำหรับจัดการเอกสารแบบครบครันที่สุด รวมถึงการจัดการไฟล์ Excel Powerpoint และ PDF
7.Google News
อัพเดตข่าวสารทันโลก รวมถึงดูสภาพอากาศแล้วเรียลทามผ่านแอปพลิเคชัน Google News จัดเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมสูงสุดในสโตร
8.ES File Explorer
มือถือเมมเต็ม มือถือข้อมูลรกไปหมด ถึงเวลาจะต้องจัดการด้วยแอปพลิเคชันอย่าง ES File Explorer ช่วยให้จัดการ ไฟล์รูปภาพ วีดีโอ ย้ายเอกสาร แอปพลิเคชัน
9.Google Drive
ถ้าการลบไฟล์ ไม่ใช่คำตอบ ก็ย้ายขึ้นไปเก็บไว้ที่ Google Drive สิ เพราะว่า แอปพลิเคชัน Google Drive เป็นพื้นที่ฝากไฟล์ฟรีของทาง Google โดยมีขนาด 15GB ถ้าไม่พอก็สามรถซื้อเพิ่มได้ในภายหลัง
10.WhatsApp
แอปพลิเคชันสนทนาออนไลน์ฟรีทั่วโลก ไม่ว่าจะคุยผ่านข้อความ เสียง แชร์ภาพ หรือสถานที่ ทุกอย่างมีครบในแอปเดียว และมีผู้ใช้มากที่สุดในโลก เพราะมีความน่าเชื่อถือในด้านความปลอดภัยสูง
11.Google Chrome
ในคอมก็เก่ง ในมือถือก็เด่น ถ้าจะเปิดเว็บมองหา Google Chrome ใช่แล้วคุณทำถูกต้อง เพราะเป็นตัวเลือกที่ดีในการท่องเว็บ เพื่อความปลอดภัย และรวดเร็วในการรับชมเว็บไซต์โปรดของคุณ
12.Xender
ส่งไฟล์ธรรมดามันช้า ลองใช้ Xender สิเร็วกว่าเยอะ ไม่ว่าจะส่งผ่านคอมสู่มือถือ หรือมือถือ กับมือถือ จะแบบไหนก็เร็ว และปลอดภัย
13.MX Player
การดูหนังฟังเพลง คงไม่สนุกถ้าไม่มี MX Player เพราะปรับภาพหรือเสียงได้ตามใจ ไม่มีกระตุก หรือเสียงเบา
14.Google Map
หลงเหรอเข้า Google Map เลย! แสดงแผนที่ และการจารจรแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การเดินทางบนท้องถนนเป็นไปอย่างสะดวกสบาย
15.PricsArt
ถ่ายรูปออกมาไม่สวย PicsArt แก้ได้ไม่ยาก เพียงไม่กี่คลิก จะเอาภาพแนวไหนก็เอาอยู่ ไม่แปลกว่าทำไมถึงมีคนใช้ทั่วโลกกว่า 100 ล้านคน
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563
อาชีพมาแรง 10 อับดับ ภายในปี 2022
ทักษะและตำแหน่งงานใหม่ที่จะได้รับความนิยม 10 อันดับ ภายในปี 2022 มีดังนี้
นักวิเคราะห์ข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ (Data Analysts & Scientists)
ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (AI & Machine Learning Specialists)
ผู้จัดการด้านปฏิบัติการและงานทั่วไป (General & Operation Managers)
นักพัฒนาและวิเคราะห์ซอฟต์แวร์กับแอปพลิเคชัน (Software and Applications Developers and Analysts)
นักขายและนักการตลาดมืออาชีพ (Sales and Marketing Professionals)
ผู้เชี่ยวชาญด้านบิ๊กดาต้า (Big Data Specialists)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation Specialists)
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีใหม่ (New Technology Specialists)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กร (Organisational Development Specialists)
ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Services)
ส่วนตำแหน่งงานที่จะเข้าสู่ช่วงขาลง 10 อันดับ ได้แก่
พนักงานคีย์ข้อมูล (Data Entry Clerks)
คนทำบัญชี เอกสารการเงิน และเงินเดือน (Accounting, Bookkeeping & Payroll Clerks)
เลขานุการผู้บริหาร (Administrative & Executive Secretaries)
พนักงานสายการผลิตในโรงงาน (Assembly & Factory Workers)
พนักงานบริการและให้ข้อมูลลูกค้า (Client Information & Customer Services Workers)
ผู้จัดการฝ่ายบริหารและบริการด้านธุรกิจ (ฺBusiness Services & Administration Managers)
นักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี (Accountants & Auditors)
พนักงานดูแลและบันทึกสต๊อกสินค้า (Material-Recording & Stock-Keeping Clerks)
ผู้จัดการด้านปฏิบัติการและงานทั่วไป (General & Operation Managers)
พนักงานบริการส่งพัสดุ (Postal Service Clerks)
เจ้าพ่อพระยาแล (ในวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ท้าวสุรนารี)
พระยาภักดีชุมพล (แล) ในวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ท้าวสุรนารี
พระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ คนแรก ชาวเมืองชัยภูมิ นิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า "เจ้าพ่อพญาแล" ปฐมบรรพบุรุษตระกูล “ภักดีชุมพล”
ประวัติความเป็นมา
ตามหลักฐานพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ปรากฏว่า พระยาภักดีชุมพลเดิมชื่อ "ท้าวแล" เป็นชาวนครเวียงจันทน์ เคยรับราชการอยู่ในวัง ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยง “เจ้าราชบุตร (โย้)” พระโอรสของ “เจ้าอนุวงศ์” กษัตริย์ลาวองค์สุดท้ายเมืองเวียงจันทน์ แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย)
ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ.2360 ท้าวแล คิดออกไปหากินด้วยตัวเอง จึงออกจากเวียงจันทร์ โดยได้อพยพครอบครัวพาบริวาร ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (ปัจจุบันเป็นบ้านหนองขุ่น ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) (อีกที่มาระบุว่า ปัจจุบันเป็นบ้านหนองขุ่น บ้านสีจาน อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา / ที่มา - เนตรนิมิต)*
ในปี พ.ศ.2362 ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) ท้าวแลเป็นผู้มีความสามารถ วิริยะอุตสาหะ ซื่อสัตย์สุจริต และมีบุคลิกลักษณะพิเศษกว่าบุคคลอื่นๆ จึงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า ท่านปกครองในลักษณะพ่อปกครองลูก พี่ปกครองน้อง สั่งสอนให้มีความสามัคคีปรองดอง ต้องช่วยกันทำมาหากิน โดยให้เหตุผลว่าการสร้างบ้านสร้างเมืองนั้นราษฎรจะต้องมีอยู่มีกินและเป็นสุข การสร้างเมืองจึงถือว่าสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความวิริยะอุตสาหะ คุณงามความดีของผู้เป็นหัวหน้า ท้าวแลจึงรวบรวมไพร่พลได้ 12 หมู่บ้านในขณะนั้น ชาวบ้านในครั้งนั้นจึงพร้อมใจกันยกย่องเชิดชูให้ท้าวแลเป็นหัวหน้าผู้ปกครอง...นับเป็นการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก
ฝ่าย “นางบุญมี” ผู้เป็นภรรยาของท้าวแล เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและชำนาญในการถักทอผ้า ออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้ติดตัวมาจากบรรพบุรุษ ก็มิได้นิ่งดูดายได้พยายามฝึกอบรมชาวบ้านให้รู้จักทอผ้า ทำให้ชาวบ้านมีอยู่มีกินดีขึ้น ท้าวแลเห็นว่าราษฎรของตนมีอยู่มีกินแล้วก็มิได้ลืมบุญคุณของเจ้านายเดิม จึงได้รวบรวมส่วยเครื่องราชบรรณาการนำไปถวาย “เจ้าอนุวงศ์” แห่งเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ได้ปูนบำเหน็จความชอบแต่งตั้งท่านให้เป็นที่ “ขุนภักดีชุมพล” นายกองนอก ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้าคุมหมู่บ้านขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์
ในปี พ.ศ.2365 ขุนภักดีชุมพลได้ย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า (ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) เนื่องจากสถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ไม่พอกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ชื่อเสียงกิตติศักดิ์ คุณงามความดีของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป จนมีผู้คนให้ความเคารพและอพยพเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวกเพิ่มมากขึ้น จนเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์เกิดความสงสัย ท่านก็อาศัยความชาญฉลาดทูลให้เจ้าอนุวงศ์หายสงสัยได้
ในปี พ.ศ.2367 การที่ได้พบบ่อทองที่บริเวณลำห้วยชาด นอกเขตบ้านหลวง ขุนภักดีชุมพล จึงได้นำทองในบ่อนี้ไปส่งส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์ และขอยกฐานะบ้านหลวงขึ้นเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์จึงประทานชื่อเมืองแก่ขุนภักดีชุมพลว่า “เมืองไชยภูมิ” (ไชยภูมิ์) และเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระภักดีชุมพล ทว่าต่อมาพระภักดีชุมพลได้ขอเอาเมืองชัยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยแก่กรุงเทพมหานครแทน ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป เพราะเห็นว่าเวียงจันทน์ก็เป็นประเทศราชขี้นต่อกรุงเทพมหานครอยู่แล้ว
จึงเข้าหา “เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)” เจ้าเมืองนครราชสีมา ขอมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และอาสาส่งส่วยเก็บผลถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการให้ทางกรุงเทพฯ แต่บัดนั้นมา ความดีความชอบในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวงเป็น "เมืองชัยภูมิ" และแต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก
เหตุการณ์นี้จึงสร้างความไม่พอใจแก่ทางฝ่ายเวียงจันทน์อย่างมาก อีกทั้งสร้างความลำบากใจแก่พระยาภักดีชุมพล (แล) ไม่น้อย เนื่องด้วยท่านเป็นคนเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทน์ เคยเป็นข้าราชสำนักใกล้ชิด มีความสนิทสนมและจงรักภักดีต่อเจ้าอนุวงศ์มาก่อน แต่ในขณะเดียวกันเมืองชัยภูมิก็ตั้งอยู่ใกล้เขตแดนของสยาม ท่านจึงยินยอมให้สยามปกครอง
ในปี พ.ศ.2369 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาภักดีชุมพล (แล) ก็ได้นำทองคำเป็นส่วยเครื่องราชบรรณาการทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้โปรดรับสั่งกับพระยาภักดีชุมพล (แล) ว่า “ให้ตั้งใจปฏิบัติราชการปกครองรักษาบ้านเมืองไว้ให้ดี”
ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เมื่อเห็นว่าพระยาภักดีชุมพล (แล) ตีตัวออกห่าง จึงไม่พอใจอย่างมาก เริ่มคิดก่อการกบฏเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช มีการซ่องสุมไพร่พล เสบียงอาหารและอาวุธ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ นี้เอง เจ้าอนุวงศ์ และเจ้าราชบุตร (โย้) พระโอรสผู้ครองเมืองจำปาศักดิ์ ได้ก่อการกบฏยกทัพล่วงล้ำเข้ามาบนเขตแดนสยามหมายตีกรุงเทพฯ แล้วเกลี้ยกล่อมหัวเมืองต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน (หัวเมืองลาวอีสาน) ให้ยอมเข้าร่วมทัพด้วย โดยหลอกหัวเมืองต่างๆ ว่าที่เดินทัพผ่านมาก็เพื่อเข้ามาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ ซึ่งในเวลานั้นสยามกำลังพิพาทกับอังกฤษเรื่องแนวเขตแดนด้านพม่าและมลายู ทำให้กองทัพของเจ้าอนุวงศ์สามารถเดินทัพผ่านมาได้โดยสะดวก หากเจ้าเมืองใดทราบความจริงและต่อต้านก็จะสังหารเสีย จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้โดยง่าย ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองนครราชสีมา ไม่อยู่ว่าราชการ
ต่อมาเมื่อความแตก ทั้งเหนือและใต้รู้ชัดว่าเจ้าอนุวงศ์คิดก่อการกบฏกู้อิสรภาพจากสยาม เจ้าอนุวงศ์จึงถอนทัพโดยได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาและยึดทรัพย์สินเพื่อนำกลับไปยังเมืองเวียงจันทน์ “คุณหญิงโม” ภรรยาพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกวาดต้อนไปด้วย เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นแห่ง ‘วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์’ ที่ยังเล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ขณะพักทัพอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองพิมาย เกิดความปั่นป่วนหญิงชายชาวเมืองนครราชสีมาที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้...
ฝ่าย “พระยาภักดีชุมพล (แล)” พิจารณาเห็นว่าเจ้าอนุวงศ์ เจ้านายเดิมของตนทำไม่ถูกต้อง แม้ท่านจะเป็นชาวเวียงจันทน์แต่ก็มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์แห่งสยามยิ่งนัก ท่านพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบช่วยคุณหญิงโม และครัวเรือนชาวเมืองนครราชสีมา ทำการตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่ายไป กระทั่งฝ่ายสยามสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด แต่ในขณะที่ทัพเจ้าอนุวงศ์ล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาก็ได้จุดไฟเผาบ้านเมือง รื้อกำแพงเมืองออก ฯลฯ ครั้นเมื่อเห็นว่าจะทำการต่อไปได้ไม่ตลอด ไม่มีทางจะสู้แล้ว เจ้าอนุวงศ์จึงสั่งให้ “เจ้าสุทธิสาร (โป๋)” ผู้เป็นพระโอรสองค์โต ยกกำลังส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมา แล้วให้ไปยึดเมืองชัยภูมิและเมืองภูเขียว อันเป็นด่านสุดท้ายไว้เป็นกำลังต่อต้านทัพกรุงเทพฯ เพราะด่านอื่นๆ ที่เจ้าอนุวงศ์ยึดครองไว้แต่แรกได้แตกพ่ายไปหมดสิ้น
เมื่อทัพเจ้าสุทธิสาร (โป๋) ยกมาถึงเมืองชัยภูมิ ได้เกลี้ยกล่อมพระยาภักดีชุมพล (แล) ให้เข้าร่วมก่อการกบฏด้วย แต่ท่านไม่ยอมเข้าร่วมด้วยเพราะยังมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์แห่งสยามอยู่ เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นที่พระยาภักดีชุมพล (แล) ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายลาว ซ้ำยังยกทัพมาช่วยฝ่ายสยามตีกระหนาบทัพลาวอีกด้วย จึงส่งทหารกองหนึ่งย้อนกลับมาเมืองชัยภูมิ ให้ไปจับตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) และสั่งว่าไม่ต้องนำตัวมาให้เห็นหน้า ให้นำไปประหารเสีย (ถ้านำมาให้เห็นหน้า จะไม่กล้าสั่งประหาร เพราะเคยเป็นพี่เลี้ยงตนเอง)* ทหารก็ไปจับกุมตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ในเมืองชัยภูมิได้โดยง่าย ซึ่งท่านก็ไม่ขัดขืนยินยอมให้จับเสียโดยดี เพราะมีกำลังพลน้อยกว่าและไม่ประสงค์จะให้ไพร่พลของตนต้องมาล้มตาย และคาดว่าถ้าไปถึงเจ้าอนุวงศ์แล้ว คงไม่สั่งประหารเพราะเคยเป็นพี่เลี้ยงกันมา แต่คาดผิด* ทหารได้นำตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ไปประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่หรือมะขามเฒ่า ริมหนองปลาเฒ่า
การเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล (แล) ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่าน...ประชาชนในครั้งนั้นได้ยกย่องเชิดชู จึงขนานนามท่านด้วยความเคารพว่า “เจ้าพ่อพญาแล” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่...ตั้งแต่นั้นมามักเรียกขานพระยาภักดีชุมพล (แล) ว่า “เจ้าพ่อพญาแล”
ต่อมาได้มีการจัดสร้างศาลเพียงตา ศาลไม้เล็กๆ ขึ้นไว้ตรงบริเวณที่ท่านถูกประหารชีวิต ที่ชุมชนหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ (ชัยภูมิ-บ้านเขว้า) เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน และได้แกะรูปเคารพสมมติว่าเป็น “เจ้าพ่อพญาแล” ไว้ภายในศาล เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้สักการะกันสืบมา ปรากฏว่าเจ้าพ่อพญาแลมีอภินิหารมหัศจรรย์มากมาย จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองชัยภูมิยิ่งนัก
ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิได้พร้อมใจกันจัดสร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทย อยู่ไม่ห่างจากศาลเดิมมากนัก ให้ชื่อว่า ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อพญาแล ภายในประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของเจ้าพ่อพญาแล ในท่านั่ง และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธแรกของเดือน ๖ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน เรียกว่า “งานบุญเดือนหก (สักการะเจ้าพ่อพญาแล)” ถือเป็นงานประเพณีบุญใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน…เจ้าเมืองผู้ยอมสละชีวิตของตนเพื่อปกป้องรักษาเมืองไว้ เจ้าเมืองผู้ภักดีต่อแผ่นดินไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อข้าศึก
อนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิได้พร้อมใจกันจัดสร้าง อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล (เป็นรูปจำลองหล่อด้วยโลหะ ในท่ายืนถือหนังสือ หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง ๒๗๐ เซนติเมตร หนัก ๗๐๐ กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูง ๔ เมตร) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้ก่อตั้งเมืองชัยภูมิและเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าเป็นมิ่งมงคลเมืองอยู่กลางวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ ทั้งนี้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ยึดเป็นแบบอย่างในความซื่อสัตย์ เสียสละ และจงรักภักดีต่อแผ่นดิน...ใครที่จะเข้าตัวเมืองชัยภูมิ จะต้องผ่าน ‘อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล’ นี้ด้วยกันทุกคน
ที่ฐานอนุสาวรีย์ฯ มีคำจารึกความว่า...“พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๖๙ เป็นผู้ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อบ้านเมือง ได้สร้างเมืองชัยภูมิและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ชาวชัยภูมิได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้เป็นที่ระลึกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘”
นับตั้งแต่มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ทุกปีในระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ มกราคม เป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน จะมีงานเฉลิมฉลองอนุสาวรีย์ฯ เป็นงานใหญ่ประจำปีของจังหวัด ณ บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ฯ และบริเวณสนามหน้าศาลากลาง โดยจะมีพิธีสำคัญประกอบด้วย พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อพญาแล, พิธีถวายช้างให้เป็นบริวารเจ้าพ่อพญาแล, มีการแห่ขบวนทางศิลปวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่สวยงามตระการตา ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการออกร้านของเหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ จึงถือเป็นงานกาชาดประจำปีด้วย
ผู้สืบต่อตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศบรรดาศักดิ์เป็นที่ “พระยาภักดีชุมพล” ทุกคน รวมทั้งสิ้น ๕ คน ดังนี้
- พระยาภักดีชุมพล (เกตุ) เดิมเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา บ้านอยู่คลองสายบัวกรุงเก่า ตามประวัติเดิมว่าเคยเป็นพระนักเทศน์ รับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในราชสำนัก
- พระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว) ญาติพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
- พระยาภักดีชุมพล (ที) บุตรพระยาภักดีชุมพล (แล)
- พระยาภักดีชุมพล (บุญจันทร์) บุตรพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
- พระยาภักดีชุมพล (แสง) บุตรหลวงขจรนพคุณ, หลานปู่ของพระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว)
หลังจากที่พระยาภักดีชุมพล (แสง) เสียชีวิตเป็นต้นมา ยศบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองก็เปลี่ยนกลายเป็น “ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ” ในปัจจุบันนี้
สำหรับพระยาภักดีชุมพล (แล) หรือเจ้าพ่อพญาแลนั้น ท่านได้เป็นพระยาภักดีชุมพล ราว ๓ ปี (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๖๙ ก่อนเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ไม่นานนัก) และเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิถึง ๑๐ ปี (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๖๙)
รวบรวมข้อมูลโดย - เพจ โคราชในอดีต
พระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิ คนแรก ชาวเมืองชัยภูมิ นิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า "เจ้าพ่อพญาแล" ปฐมบรรพบุรุษตระกูล “ภักดีชุมพล”
ประวัติความเป็นมา
ตามหลักฐานพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ปรากฏว่า พระยาภักดีชุมพลเดิมชื่อ "ท้าวแล" เป็นชาวนครเวียงจันทน์ เคยรับราชการอยู่ในวัง ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยง “เจ้าราชบุตร (โย้)” พระโอรสของ “เจ้าอนุวงศ์” กษัตริย์ลาวองค์สุดท้ายเมืองเวียงจันทน์ แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย)
ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ.2360 ท้าวแล คิดออกไปหากินด้วยตัวเอง จึงออกจากเวียงจันทร์ โดยได้อพยพครอบครัวพาบริวาร ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (ปัจจุบันเป็นบ้านหนองขุ่น ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) (อีกที่มาระบุว่า ปัจจุบันเป็นบ้านหนองขุ่น บ้านสีจาน อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา / ที่มา - เนตรนิมิต)*
ในปี พ.ศ.2362 ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) ท้าวแลเป็นผู้มีความสามารถ วิริยะอุตสาหะ ซื่อสัตย์สุจริต และมีบุคลิกลักษณะพิเศษกว่าบุคคลอื่นๆ จึงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า ท่านปกครองในลักษณะพ่อปกครองลูก พี่ปกครองน้อง สั่งสอนให้มีความสามัคคีปรองดอง ต้องช่วยกันทำมาหากิน โดยให้เหตุผลว่าการสร้างบ้านสร้างเมืองนั้นราษฎรจะต้องมีอยู่มีกินและเป็นสุข การสร้างเมืองจึงถือว่าสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความวิริยะอุตสาหะ คุณงามความดีของผู้เป็นหัวหน้า ท้าวแลจึงรวบรวมไพร่พลได้ 12 หมู่บ้านในขณะนั้น ชาวบ้านในครั้งนั้นจึงพร้อมใจกันยกย่องเชิดชูให้ท้าวแลเป็นหัวหน้าผู้ปกครอง...นับเป็นการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก
ฝ่าย “นางบุญมี” ผู้เป็นภรรยาของท้าวแล เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและชำนาญในการถักทอผ้า ออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ได้ติดตัวมาจากบรรพบุรุษ ก็มิได้นิ่งดูดายได้พยายามฝึกอบรมชาวบ้านให้รู้จักทอผ้า ทำให้ชาวบ้านมีอยู่มีกินดีขึ้น ท้าวแลเห็นว่าราษฎรของตนมีอยู่มีกินแล้วก็มิได้ลืมบุญคุณของเจ้านายเดิม จึงได้รวบรวมส่วยเครื่องราชบรรณาการนำไปถวาย “เจ้าอนุวงศ์” แห่งเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ได้ปูนบำเหน็จความชอบแต่งตั้งท่านให้เป็นที่ “ขุนภักดีชุมพล” นายกองนอก ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้าคุมหมู่บ้านขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์
ในปี พ.ศ.2365 ขุนภักดีชุมพลได้ย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า (ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) เนื่องจากสถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ไม่พอกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ชื่อเสียงกิตติศักดิ์ คุณงามความดีของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป จนมีผู้คนให้ความเคารพและอพยพเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวกเพิ่มมากขึ้น จนเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์เกิดความสงสัย ท่านก็อาศัยความชาญฉลาดทูลให้เจ้าอนุวงศ์หายสงสัยได้
ในปี พ.ศ.2367 การที่ได้พบบ่อทองที่บริเวณลำห้วยชาด นอกเขตบ้านหลวง ขุนภักดีชุมพล จึงได้นำทองในบ่อนี้ไปส่งส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์ และขอยกฐานะบ้านหลวงขึ้นเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์จึงประทานชื่อเมืองแก่ขุนภักดีชุมพลว่า “เมืองไชยภูมิ” (ไชยภูมิ์) และเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระภักดีชุมพล ทว่าต่อมาพระภักดีชุมพลได้ขอเอาเมืองชัยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยแก่กรุงเทพมหานครแทน ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป เพราะเห็นว่าเวียงจันทน์ก็เป็นประเทศราชขี้นต่อกรุงเทพมหานครอยู่แล้ว
จึงเข้าหา “เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)” เจ้าเมืองนครราชสีมา ขอมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และอาสาส่งส่วยเก็บผลถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการให้ทางกรุงเทพฯ แต่บัดนั้นมา ความดีความชอบในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวงเป็น "เมืองชัยภูมิ" และแต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก
เหตุการณ์นี้จึงสร้างความไม่พอใจแก่ทางฝ่ายเวียงจันทน์อย่างมาก อีกทั้งสร้างความลำบากใจแก่พระยาภักดีชุมพล (แล) ไม่น้อย เนื่องด้วยท่านเป็นคนเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทน์ เคยเป็นข้าราชสำนักใกล้ชิด มีความสนิทสนมและจงรักภักดีต่อเจ้าอนุวงศ์มาก่อน แต่ในขณะเดียวกันเมืองชัยภูมิก็ตั้งอยู่ใกล้เขตแดนของสยาม ท่านจึงยินยอมให้สยามปกครอง
ในปี พ.ศ.2369 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาภักดีชุมพล (แล) ก็ได้นำทองคำเป็นส่วยเครื่องราชบรรณาการทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้โปรดรับสั่งกับพระยาภักดีชุมพล (แล) ว่า “ให้ตั้งใจปฏิบัติราชการปกครองรักษาบ้านเมืองไว้ให้ดี”
ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์เมื่อเห็นว่าพระยาภักดีชุมพล (แล) ตีตัวออกห่าง จึงไม่พอใจอย่างมาก เริ่มคิดก่อการกบฏเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช มีการซ่องสุมไพร่พล เสบียงอาหารและอาวุธ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ นี้เอง เจ้าอนุวงศ์ และเจ้าราชบุตร (โย้) พระโอรสผู้ครองเมืองจำปาศักดิ์ ได้ก่อการกบฏยกทัพล่วงล้ำเข้ามาบนเขตแดนสยามหมายตีกรุงเทพฯ แล้วเกลี้ยกล่อมหัวเมืองต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน (หัวเมืองลาวอีสาน) ให้ยอมเข้าร่วมทัพด้วย โดยหลอกหัวเมืองต่างๆ ว่าที่เดินทัพผ่านมาก็เพื่อเข้ามาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ ซึ่งในเวลานั้นสยามกำลังพิพาทกับอังกฤษเรื่องแนวเขตแดนด้านพม่าและมลายู ทำให้กองทัพของเจ้าอนุวงศ์สามารถเดินทัพผ่านมาได้โดยสะดวก หากเจ้าเมืองใดทราบความจริงและต่อต้านก็จะสังหารเสีย จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้โดยง่าย ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองนครราชสีมา ไม่อยู่ว่าราชการ
ต่อมาเมื่อความแตก ทั้งเหนือและใต้รู้ชัดว่าเจ้าอนุวงศ์คิดก่อการกบฏกู้อิสรภาพจากสยาม เจ้าอนุวงศ์จึงถอนทัพโดยได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาและยึดทรัพย์สินเพื่อนำกลับไปยังเมืองเวียงจันทน์ “คุณหญิงโม” ภรรยาพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกวาดต้อนไปด้วย เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นแห่ง ‘วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์’ ที่ยังเล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ขณะพักทัพอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองพิมาย เกิดความปั่นป่วนหญิงชายชาวเมืองนครราชสีมาที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้...
ฝ่าย “พระยาภักดีชุมพล (แล)” พิจารณาเห็นว่าเจ้าอนุวงศ์ เจ้านายเดิมของตนทำไม่ถูกต้อง แม้ท่านจะเป็นชาวเวียงจันทน์แต่ก็มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์แห่งสยามยิ่งนัก ท่านพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบช่วยคุณหญิงโม และครัวเรือนชาวเมืองนครราชสีมา ทำการตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่ายไป กระทั่งฝ่ายสยามสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด แต่ในขณะที่ทัพเจ้าอนุวงศ์ล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาก็ได้จุดไฟเผาบ้านเมือง รื้อกำแพงเมืองออก ฯลฯ ครั้นเมื่อเห็นว่าจะทำการต่อไปได้ไม่ตลอด ไม่มีทางจะสู้แล้ว เจ้าอนุวงศ์จึงสั่งให้ “เจ้าสุทธิสาร (โป๋)” ผู้เป็นพระโอรสองค์โต ยกกำลังส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมา แล้วให้ไปยึดเมืองชัยภูมิและเมืองภูเขียว อันเป็นด่านสุดท้ายไว้เป็นกำลังต่อต้านทัพกรุงเทพฯ เพราะด่านอื่นๆ ที่เจ้าอนุวงศ์ยึดครองไว้แต่แรกได้แตกพ่ายไปหมดสิ้น
เมื่อทัพเจ้าสุทธิสาร (โป๋) ยกมาถึงเมืองชัยภูมิ ได้เกลี้ยกล่อมพระยาภักดีชุมพล (แล) ให้เข้าร่วมก่อการกบฏด้วย แต่ท่านไม่ยอมเข้าร่วมด้วยเพราะยังมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์แห่งสยามอยู่ เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นที่พระยาภักดีชุมพล (แล) ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายลาว ซ้ำยังยกทัพมาช่วยฝ่ายสยามตีกระหนาบทัพลาวอีกด้วย จึงส่งทหารกองหนึ่งย้อนกลับมาเมืองชัยภูมิ ให้ไปจับตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) และสั่งว่าไม่ต้องนำตัวมาให้เห็นหน้า ให้นำไปประหารเสีย (ถ้านำมาให้เห็นหน้า จะไม่กล้าสั่งประหาร เพราะเคยเป็นพี่เลี้ยงตนเอง)* ทหารก็ไปจับกุมตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ในเมืองชัยภูมิได้โดยง่าย ซึ่งท่านก็ไม่ขัดขืนยินยอมให้จับเสียโดยดี เพราะมีกำลังพลน้อยกว่าและไม่ประสงค์จะให้ไพร่พลของตนต้องมาล้มตาย และคาดว่าถ้าไปถึงเจ้าอนุวงศ์แล้ว คงไม่สั่งประหารเพราะเคยเป็นพี่เลี้ยงกันมา แต่คาดผิด* ทหารได้นำตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ไปประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่หรือมะขามเฒ่า ริมหนองปลาเฒ่า
การเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล (แล) ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่าน...ประชาชนในครั้งนั้นได้ยกย่องเชิดชู จึงขนานนามท่านด้วยความเคารพว่า “เจ้าพ่อพญาแล” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่...ตั้งแต่นั้นมามักเรียกขานพระยาภักดีชุมพล (แล) ว่า “เจ้าพ่อพญาแล”
ต่อมาได้มีการจัดสร้างศาลเพียงตา ศาลไม้เล็กๆ ขึ้นไว้ตรงบริเวณที่ท่านถูกประหารชีวิต ที่ชุมชนหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕ (ชัยภูมิ-บ้านเขว้า) เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน และได้แกะรูปเคารพสมมติว่าเป็น “เจ้าพ่อพญาแล” ไว้ภายในศาล เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้สักการะกันสืบมา ปรากฏว่าเจ้าพ่อพญาแลมีอภินิหารมหัศจรรย์มากมาย จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองชัยภูมิยิ่งนัก
ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิได้พร้อมใจกันจัดสร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทย อยู่ไม่ห่างจากศาลเดิมมากนัก ให้ชื่อว่า ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อพญาแล ภายในประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของเจ้าพ่อพญาแล ในท่านั่ง และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธแรกของเดือน ๖ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน เรียกว่า “งานบุญเดือนหก (สักการะเจ้าพ่อพญาแล)” ถือเป็นงานประเพณีบุญใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน…เจ้าเมืองผู้ยอมสละชีวิตของตนเพื่อปกป้องรักษาเมืองไว้ เจ้าเมืองผู้ภักดีต่อแผ่นดินไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อข้าศึก
อนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิได้พร้อมใจกันจัดสร้าง อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล (เป็นรูปจำลองหล่อด้วยโลหะ ในท่ายืนถือหนังสือ หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง ๒๗๐ เซนติเมตร หนัก ๗๐๐ กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูง ๔ เมตร) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้ก่อตั้งเมืองชัยภูมิและเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าเป็นมิ่งมงคลเมืองอยู่กลางวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ ทั้งนี้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ยึดเป็นแบบอย่างในความซื่อสัตย์ เสียสละ และจงรักภักดีต่อแผ่นดิน...ใครที่จะเข้าตัวเมืองชัยภูมิ จะต้องผ่าน ‘อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล’ นี้ด้วยกันทุกคน
ที่ฐานอนุสาวรีย์ฯ มีคำจารึกความว่า...“พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๖๙ เป็นผู้ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อบ้านเมือง ได้สร้างเมืองชัยภูมิและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ชาวชัยภูมิได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้เป็นที่ระลึกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘”
นับตั้งแต่มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ทุกปีในระหว่างวันที่ ๑๒-๒๐ มกราคม เป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน จะมีงานเฉลิมฉลองอนุสาวรีย์ฯ เป็นงานใหญ่ประจำปีของจังหวัด ณ บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ฯ และบริเวณสนามหน้าศาลากลาง โดยจะมีพิธีสำคัญประกอบด้วย พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อพญาแล, พิธีถวายช้างให้เป็นบริวารเจ้าพ่อพญาแล, มีการแห่ขบวนทางศิลปวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่สวยงามตระการตา ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการออกร้านของเหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ จึงถือเป็นงานกาชาดประจำปีด้วย
ผู้สืบต่อตำแหน่งเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศบรรดาศักดิ์เป็นที่ “พระยาภักดีชุมพล” ทุกคน รวมทั้งสิ้น ๕ คน ดังนี้
- พระยาภักดีชุมพล (เกตุ) เดิมเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา บ้านอยู่คลองสายบัวกรุงเก่า ตามประวัติเดิมว่าเคยเป็นพระนักเทศน์ รับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในราชสำนัก
- พระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว) ญาติพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
- พระยาภักดีชุมพล (ที) บุตรพระยาภักดีชุมพล (แล)
- พระยาภักดีชุมพล (บุญจันทร์) บุตรพระยาภักดีชุมพล (เกตุ)
- พระยาภักดีชุมพล (แสง) บุตรหลวงขจรนพคุณ, หลานปู่ของพระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว)
หลังจากที่พระยาภักดีชุมพล (แสง) เสียชีวิตเป็นต้นมา ยศบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองก็เปลี่ยนกลายเป็น “ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ” ในปัจจุบันนี้
สำหรับพระยาภักดีชุมพล (แล) หรือเจ้าพ่อพญาแลนั้น ท่านได้เป็นพระยาภักดีชุมพล ราว ๓ ปี (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๖๙ ก่อนเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ไม่นานนัก) และเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิถึง ๑๐ ปี (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๖๙)
รวบรวมข้อมูลโดย - เพจ โคราชในอดีต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)