วันนี้ว่าง
มีเวลานั่งอ่านหนังสือ ทบทวน ดูประวัติศาสตร์
ดูเกี่ยวกับเรื่องลี้ลับ ที่ไม่สามารถอธิบายได้
นึกไปถึงดวงวิญญาณหลายๆ ดวง ที่ล้วนแล้วแต่ทำกรรมดี
บางดวงวิญญาณดีแต่ต้องเฝ้าทรัพย์ ต้องปฏิบัติธรรม ทำไมนะ
เพราะจิตสุดท้ายงั้นหรือ
มันน่าเศร้าจัง ...จะปฏิบัติอย่างไรนะ ให้จิตสุดท้ายหลุดพ้น
วันที่ทั้งโรคหวาดกลัวกับโรคอุบัติใหม่ เราคงต้องนึกถึงความตายกันวันละ หลายๆ ครั้ง
หัดปล่อยว่าง ละว่าง ทุกสิ่งบนโลกล้วนสมมุติ
แต่ฉันก็ยังไม่อยากเป็นจิ๊กซอว์ในสถานการณ์แบบนี้
สาธุ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ช่วยคุ้มครองคนไทยทุกคนให้ปลอดภัยจาก Covid 19
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563
การหัดตายก็คือปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลายก่อนที่จะถูกความตายบังคับให้ปล่อย
Step 1 เตรียมตัวเข้านอนเป็นครั้งสุดท้าย
ลองนอนราบลงบนเตียง เอาแขนมาแนบลำตัว ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนตั้งแต่หัวจรดเท้า อย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งเกร็ง หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ ปล่อยวางความคิดที่รกรุงรังในหัว ทั้งเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีต และสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคต จากนั้นน้อมใจมาไว้ที่ปลายจมูก สังเกตลมหายใจเข้าและออกของตัวเอง เมื่อใจเริ่มสงบแล้ว ให้ลองจินตนาการว่า เรากำลังเข้าสู่การตาย การนอนครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเราอีกต่อไปแล้ว
Step 2 พิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย
ลองพิจารณาร่างกายของเราทีละส่วนว่า เมื่อความตายมาถึง หัวใจเราจะหยุดเต้น ลมหายใจเราจะสิ้นสุดลง ไม่มีลมหายใจเข้าออกเหมือนในปัจจุบันแล้ว ท้องที่กำลังพอง ยุบอยู่ในขณะนี้จะหยุดเคลื่อนไหว ลำตัวที่เคยอุ่น ก็จะเย็นลง ส่วนต่างๆ ที่เคยยืดหยุ่นก็จะแข็งตึงเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ น้ำหนองจะเริ่มไหลออกมาตามตัว การพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกายเช่นนี้ จะช่วยให้เราคลายจากความยึดติดในร่างกายได้
Step 3 ปล่อยวางคนรักและของที่หวงแหน
ลองเลือกบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของที่เรารัก ผูกพัน และคิดว่ามีความสำคัญที่สุดมา 5 อย่าง จากนั้นลองถามตัวเองว่า ในบรรดา 5 อย่างนี้ หากมีสิ่งหนึ่งที่เราต้องสูญเสียไป อะไรที่เราสามารถตัดใจได้ ลองเรียงลำดับสิ่งที่ตัดใจได้ง่ายที่สุด ไปหายากที่สุด
หากพบว่าตัวเองยังมีสิ่งที่ตัดใจได้ยากอยู่หลายข้อ ให้ลองหมั่นเตือนตัวเองบ่อยๆ ว่า หากเราต้องตายจริง ทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่เราเฝ้าหาและสะสมมาจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้ว ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ หน้าที่การงานของเราที่กำลังไปได้ดีก็เช่นกัน วันพรุ่งนี้ตำแหน่งหน้าที่ของเราจะกลายเป็นของคนอื่นไปแล้ว นอกจากนี้เราจะไม่มีโอกาสได้พบหน้าคนรักและครอบครัวอีกต่อไป หากเรายังรู้สึกห่วงหาอาลัยเพราะมีสิ่งที่ติดค้าง ก็ให้รีบทำสิ่งนั้นให้เสร็จซะ
Step 4 จินตนาการถึงงานศพของตัวเอง
ลองจินตนาการว่า ขณะนี้เรากำลังนอนอยู่ในโลงศพ ในงานศพของเราเอง ลองนึกดูว่า ญาติมิตร เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน หรือใครต่อใครที่มางานศพของเราจะพูดถึงเราอย่างไรบ้าง ลองทบทวนและถามตัวเองว่า ชีวิตที่ผ่านมาเรามีความดีข้อใดให้ทุกคนเอ่ยถึง มีสิ่งใดที่ควรค่าแก่การสรรเสริญ เราใช้ชีวิตคุ้มค่ากับการเกิดมาเป็นมนุษย์หรือยัง มีอะไรบ้างที่เรายังไม่ได้ลงมือทำเสียที เมื่อคิดทบทวนได้เช่นนี้ ก็ให้เตือนตัวเองว่า ควรใช้เวลาที่เหลืออยู่ทุกวินาทีให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
Step 5 คว่ำแก้วเปล่าไว้ข้างเตียง
หลังจากพิจารณาตัวเองจนครบทั้ง 4 ข้อแล้ว ก็ให้เตรียมตัวเข้านอน โดยก่อนนอน ให้หยิบแก้วน้ำที่ตั้งอยู่ตรงหัวเตียงขึ้นมา แล้วนำน้ำในแก้วไปเททิ้งออกจนหมด จากนั้นคว่ำแก้วเปล่าไว้ข้างๆ เตียง วิธีการนี้เป็นอุบายเตือนใจถึงความตายที่อาจารย์กรรมฐานชาวทิเบตบางท่านใช้กัน เพื่อฝึกเตือนตัวเองว่า วันพรุ่งนี้เราอาจไม่มีโอกาสได้ตื่นขึ้นมาแล้วดื่มน้ำในแก้วใบนี้อีก การทำเช่นนี้ทุกวันจะช่วยเตือนใจให้เราหมั่นนึกถึงความไม่จีรังของชีวิตได้
พระไพศาล วิสาโล เคยกล่าวไว้ว่า ในเมื่อเราต้องเจอความตายอย่างแน่นอน แทนที่จะวิ่งหนีความตายอย่างไร้ผล เราควรหันมาเตรียมใจรับมือกับความตาย เช่นเดียวกับที่ปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า
“เราไม่รู้ว่าความตายคอยเราอยู่ ณ ที่ใด ดังนั้นขอให้เราคอยความตายทุกหนแห่ง”
— ข้อมูลจากหนังสือ ระลึกถึงความตายสบายนัก หัวข้อ ฝึกตายหรือเจริญมรณสติก่อนนอน โดยพระไพศาล วิสาโล —
ลองนอนราบลงบนเตียง เอาแขนมาแนบลำตัว ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนตั้งแต่หัวจรดเท้า อย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ่งเกร็ง หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ ปล่อยวางความคิดที่รกรุงรังในหัว ทั้งเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีต และสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคต จากนั้นน้อมใจมาไว้ที่ปลายจมูก สังเกตลมหายใจเข้าและออกของตัวเอง เมื่อใจเริ่มสงบแล้ว ให้ลองจินตนาการว่า เรากำลังเข้าสู่การตาย การนอนครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเราอีกต่อไปแล้ว
Step 2 พิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย
ลองพิจารณาร่างกายของเราทีละส่วนว่า เมื่อความตายมาถึง หัวใจเราจะหยุดเต้น ลมหายใจเราจะสิ้นสุดลง ไม่มีลมหายใจเข้าออกเหมือนในปัจจุบันแล้ว ท้องที่กำลังพอง ยุบอยู่ในขณะนี้จะหยุดเคลื่อนไหว ลำตัวที่เคยอุ่น ก็จะเย็นลง ส่วนต่างๆ ที่เคยยืดหยุ่นก็จะแข็งตึงเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ น้ำหนองจะเริ่มไหลออกมาตามตัว การพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกายเช่นนี้ จะช่วยให้เราคลายจากความยึดติดในร่างกายได้
Step 3 ปล่อยวางคนรักและของที่หวงแหน
ลองเลือกบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของที่เรารัก ผูกพัน และคิดว่ามีความสำคัญที่สุดมา 5 อย่าง จากนั้นลองถามตัวเองว่า ในบรรดา 5 อย่างนี้ หากมีสิ่งหนึ่งที่เราต้องสูญเสียไป อะไรที่เราสามารถตัดใจได้ ลองเรียงลำดับสิ่งที่ตัดใจได้ง่ายที่สุด ไปหายากที่สุด
หากพบว่าตัวเองยังมีสิ่งที่ตัดใจได้ยากอยู่หลายข้อ ให้ลองหมั่นเตือนตัวเองบ่อยๆ ว่า หากเราต้องตายจริง ทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่เราเฝ้าหาและสะสมมาจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้ว ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ หน้าที่การงานของเราที่กำลังไปได้ดีก็เช่นกัน วันพรุ่งนี้ตำแหน่งหน้าที่ของเราจะกลายเป็นของคนอื่นไปแล้ว นอกจากนี้เราจะไม่มีโอกาสได้พบหน้าคนรักและครอบครัวอีกต่อไป หากเรายังรู้สึกห่วงหาอาลัยเพราะมีสิ่งที่ติดค้าง ก็ให้รีบทำสิ่งนั้นให้เสร็จซะ
Step 4 จินตนาการถึงงานศพของตัวเอง
ลองจินตนาการว่า ขณะนี้เรากำลังนอนอยู่ในโลงศพ ในงานศพของเราเอง ลองนึกดูว่า ญาติมิตร เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน หรือใครต่อใครที่มางานศพของเราจะพูดถึงเราอย่างไรบ้าง ลองทบทวนและถามตัวเองว่า ชีวิตที่ผ่านมาเรามีความดีข้อใดให้ทุกคนเอ่ยถึง มีสิ่งใดที่ควรค่าแก่การสรรเสริญ เราใช้ชีวิตคุ้มค่ากับการเกิดมาเป็นมนุษย์หรือยัง มีอะไรบ้างที่เรายังไม่ได้ลงมือทำเสียที เมื่อคิดทบทวนได้เช่นนี้ ก็ให้เตือนตัวเองว่า ควรใช้เวลาที่เหลืออยู่ทุกวินาทีให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
Step 5 คว่ำแก้วเปล่าไว้ข้างเตียง
หลังจากพิจารณาตัวเองจนครบทั้ง 4 ข้อแล้ว ก็ให้เตรียมตัวเข้านอน โดยก่อนนอน ให้หยิบแก้วน้ำที่ตั้งอยู่ตรงหัวเตียงขึ้นมา แล้วนำน้ำในแก้วไปเททิ้งออกจนหมด จากนั้นคว่ำแก้วเปล่าไว้ข้างๆ เตียง วิธีการนี้เป็นอุบายเตือนใจถึงความตายที่อาจารย์กรรมฐานชาวทิเบตบางท่านใช้กัน เพื่อฝึกเตือนตัวเองว่า วันพรุ่งนี้เราอาจไม่มีโอกาสได้ตื่นขึ้นมาแล้วดื่มน้ำในแก้วใบนี้อีก การทำเช่นนี้ทุกวันจะช่วยเตือนใจให้เราหมั่นนึกถึงความไม่จีรังของชีวิตได้
พระไพศาล วิสาโล เคยกล่าวไว้ว่า ในเมื่อเราต้องเจอความตายอย่างแน่นอน แทนที่จะวิ่งหนีความตายอย่างไร้ผล เราควรหันมาเตรียมใจรับมือกับความตาย เช่นเดียวกับที่ปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า
“เราไม่รู้ว่าความตายคอยเราอยู่ ณ ที่ใด ดังนั้นขอให้เราคอยความตายทุกหนแห่ง”
— ข้อมูลจากหนังสือ ระลึกถึงความตายสบายนัก หัวข้อ ฝึกตายหรือเจริญมรณสติก่อนนอน โดยพระไพศาล วิสาโล —
วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563
เส้นแอตติจูดแห่งความคิด (Attitude)
Positive thinking
...............................................................
1. อิจฉา
2. รั้น
3. ชอบการวิพากษ์วิจารณ์
4. เฉลียวฉลาด มีความมุ่งมั่น อารมณ์ร้อน
..............................................................
1. เฉลียวฉลาด มีความมุ่งมั่น อารมณ์ร้อน
2. ชอบการวิพากษ์วิจารณ์
3. รั้น
4. อิจฉา
....................................................................
สองกลุ่มนี้ได้ฟังข้อมูลในลักษณะที่กลับกัน
กลุ่มแรกรู้จักในด้านลบ (-) ไปหาด้านบวก (+)
ในขณะที่กลุ่มที่สองรู้จักในด้านบวก (+) ไปหาด้านลบ (-)
เหตุผลเพิ่มเติมก็คือ ที่คนเราสนใจในการสร้างภาพลักษณ์ในแง่ดีให้ปรากฏก็เพื่อว่า
ความประทับใจที่ดีที่ผู้อื่นมีต่อเรา จะช่วยให้เราทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น
https://youtu.be/qEyWXBKyAq8
“คนเรามักมี สองเหตุผลเสมอ ในการตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่าง 1) เหตุผลที่ดี และ2) เหตุผลที่แท้จริง” J.P. Morgan
...............................................................
1. อิจฉา
2. รั้น
3. ชอบการวิพากษ์วิจารณ์
4. เฉลียวฉลาด มีความมุ่งมั่น อารมณ์ร้อน
..............................................................
1. เฉลียวฉลาด มีความมุ่งมั่น อารมณ์ร้อน
2. ชอบการวิพากษ์วิจารณ์
3. รั้น
4. อิจฉา
....................................................................
สองกลุ่มนี้ได้ฟังข้อมูลในลักษณะที่กลับกัน
กลุ่มแรกรู้จักในด้านลบ (-) ไปหาด้านบวก (+)
ในขณะที่กลุ่มที่สองรู้จักในด้านบวก (+) ไปหาด้านลบ (-)
เหตุผลเพิ่มเติมก็คือ ที่คนเราสนใจในการสร้างภาพลักษณ์ในแง่ดีให้ปรากฏก็เพื่อว่า
ความประทับใจที่ดีที่ผู้อื่นมีต่อเรา จะช่วยให้เราทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น
https://youtu.be/qEyWXBKyAq8
“คนเรามักมี สองเหตุผลเสมอ ในการตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่าง 1) เหตุผลที่ดี และ2) เหตุผลที่แท้จริง” J.P. Morgan
วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563
หลวงวิจิตรวาทการ (งานสุข ชีวิตสุข)
๐ ครั้นวันหนึ่งอยู่กระทรวงจนพลบค่ำ เพราะรีบทำ"เรื่องลับ"ไม่กลับบ้าน
"เหน็ดเหนื่อยเมื่อยกรำด้วยทำงาน แต่หัวใจเบิกบานอยู่เป็นนิจ"!!!
ใน"ร่างกาย"รู้สึกว่าทนทุกข์ แต่ก็"มีความสุขในดวงจิต"
จึงหยิบยกข้อปัญหาขึ้นมาคิด ถูกหรือผิด?ท่านผู้อ่านวานช่วยตรอง
คือฉันตั้งปัญหาว่าอย่างนี้ มนุษย์เราที่มีอยู่ทั้งผอง
ต่างก็มีเจตน์ตั้งและหวังปอง อยากได้ช่อง"ประสบสุข"ทั่วทุกคน!!!
๐ แต่"ความสุขนั้นคืออะไรเล่า? เงินทองของเข้าหรือลาภผล?
สาวแสนสวยสดหรือรถยนต์? ผู้คนบริวารหรือบ้านเรือน?"
อะไรแน่?ทำให้ใจเป็นสุข "หนังละครที่สนุกหรือคบเพื่อน?
หรือเที่ยวเตร่เร่ร่อนตลอดเดือน?"
เชิญลองเอื้อนเอ่ยถ้อยแถลงมา....
๐ สิ่งเหล่านี้มีน้อยในตัวฉัน แต่กระนั้น"ก็เป็นสุข"อยู่นักหนา
ส่วน"ลาภผลเงินทองของนานา ถึงได้มาก็ไม่มีอยู่มากมาย"
บางคนว่า"ความสุขอยู่ที่ทรัพย์" อเนกนับ"เงินทองของทั้งหลาย"
ได้กินอยู่เที่ยวสำอางอย่างมากมาย ก็"สขกายสุขใจเพราะมั่งมี"
ฉันไม่เคยรู้จัก"ความมั่งคั่ง และไม่หวังที่จะเด่นเป็นเศรษฐี"
เงินเดือนได้ก็ต้องใช้ไปพอดี "ความมั่งมีเป็นอย่างไร?ไม่เคยรู้"!!!
มีที่ดินครอบครองอยู่สองไร่ บ้านเรือนก็ไม่ใหญ่พอทำอยู่-
เป็นชั้นเดียวสามห้องลองไปดู ไม่เคยหรูสู้เสงี่ยมคอยเจียมตน!!!
แต่กระนั้น"ฉันนี้ก็มีสุข ไม่เคยทุกข์ขุ่นเคืองเรื่องลาภผล
จะมีน้อยมีมากหรือยากจน ไม่ร้อนรนคิดละโมบเรื่องเงินทอง"!!!
"ทรัพย์มิได้ให้สุขแก่ตัวฉัน ความสุขนั้นมิได้อยู่ที่ข้าวของ
แต่ฉันสุขด้วยอะไร?"ลองไตร่ตรอง ได้พบช่องตอบปัญหาว่าตามจริง
มีบางท่านยึดมั่นบรรยาย ว่า"ความสุขของชายนั่นคือหญิง"
ฉันก็รู้อยู่บ้างจะอ้างอิง ว่า"ไม่จริง"เหมือนคำที่รำพัน!!!
ฉันเคยอยู่ศิลปากรมาเก้าปี "ผู้หญิงมีสวยสำอางอย่างสวรรค์"
คนก็คอยกล่าวโทษโจษจัน เสกสรรปั้นข่าวให้ร้าวราน!!!
ฉันไม่เคยทำอะไรให้ผิดพลั้ง ทั้งต่อหน้าลับหลังทุกสถาน
คนทั้งเมืองรู้เห็นเป็นพยาน ที่เคยพาลกลับน้อมยอมจำนน!!!
ฉันทำตัวเหมือนมดแดงแฝงมะม่วง ที่แตกช่อก่อพวงเป็นลูกผล
แต่ไม่เคยแตะต้องข้องกังวล จนสุกงอมหอมหล่นคนเก็บไป!!!
ถึงกระนั้น"ตัวฉันก็เป็นสุข ไม่เคยทุกข์ร้อนรนกับคนไหน?
จะว่าหญิงให้สุขได้อย่างไร? ยังห่างไกลจากปัญหาที่ว่ากัน
เคยเห็นเพื่อน"เสพสุราว่าเป็นสุข" ลองดูบ้างไม่สนุกสำหรับฉัน
ปวดศีรษะคลุ้มคลั่งไปทั้งวัน!!! ต้องเลิกกันยอมแพ้แก่สุรา!!!
เรื่องเที่ยวเตร่ก็ไม่รู้จะไปไหน? "ถึงออกไปก็ไม่สุข"เหมือนดังว่า
เออ..นี่เรา"เอาสุขที่ไหนมา?" ดีหรือบ้าไม่รู้!!!...ดูแปลกคน!!!
ต้องนึกถามในใจอันแท้จริง พร้อมทั้งสิ่งแวดล้อมและเหตุผล
ก็ตอบได้ว่า"เรื่องทุกข์-สุขในตน แล้วแต่ใจของคน"ที่เกิดมา!!!
"สุขของฉันอยู่ที่งานหล่อเลี้ยงจิต" สุขของฉันอยู่ที่คิดสมบัติบ้า!!!
คิดทำโน่นทำนี่ทุกเวลา "เมื่อเห็นงานก้าวหน้าก็สุขใจ"!!!
"งานยิ่งมีมากจริงยิ่งเป็นสุข งานยิ่งชุกมันสมองยิ่งผ่องใส
เมื่อทำงานได้เสร็จสำเร็จไป ก็สุขใจปลาบปลื้มลืมทุกข์ร้อน"!!!
เมื่อเสนองานไปให้นายกฯ ก็วิตกหนักใจเข้าไว้ก่อน
ถูกหรือไม่?ชอบหรือไม่?ใจยังร้อน จนเข้านอนยังระลึกนึกถึงงาน!!!
เมื่อส่งกลับสั่งประทับว่า"ชอบแล้ว เหมือนได้แก้วแสนสุขสนุกสนาน
บังเกิดความเริงรื่นและชื่นบาน ผลของงานทำให้เป็นสุขจริง"!!!
เมื่อเห็นงานเดินตลอดได้ปลอดโปร่ง ก็ใจโล่ง"หมดทุกข์เป็นสุขยิ่ง"!!!
ที่กล่าวนี้กล่าวไปด้วยใจจริง มิใช่หยิ่งผยองเผยอตัว
"ฉันรักงานรักจริงยิ่งชีวิต ถูกหรือผิดอยากจะทำให้ถ้วนทั่ว
ถ้าทำผิดก็เป็นครูอยู่กับตัว ดีหรือชั่วขอให้ได้ทำงาน"!!!
"เหน็ดเหนื่อยเมื่อยกรำด้วยทำงาน แต่หัวใจเบิกบานอยู่เป็นนิจ"!!!
ใน"ร่างกาย"รู้สึกว่าทนทุกข์ แต่ก็"มีความสุขในดวงจิต"
จึงหยิบยกข้อปัญหาขึ้นมาคิด ถูกหรือผิด?ท่านผู้อ่านวานช่วยตรอง
คือฉันตั้งปัญหาว่าอย่างนี้ มนุษย์เราที่มีอยู่ทั้งผอง
ต่างก็มีเจตน์ตั้งและหวังปอง อยากได้ช่อง"ประสบสุข"ทั่วทุกคน!!!
๐ แต่"ความสุขนั้นคืออะไรเล่า? เงินทองของเข้าหรือลาภผล?
สาวแสนสวยสดหรือรถยนต์? ผู้คนบริวารหรือบ้านเรือน?"
อะไรแน่?ทำให้ใจเป็นสุข "หนังละครที่สนุกหรือคบเพื่อน?
หรือเที่ยวเตร่เร่ร่อนตลอดเดือน?"
เชิญลองเอื้อนเอ่ยถ้อยแถลงมา....
๐ สิ่งเหล่านี้มีน้อยในตัวฉัน แต่กระนั้น"ก็เป็นสุข"อยู่นักหนา
ส่วน"ลาภผลเงินทองของนานา ถึงได้มาก็ไม่มีอยู่มากมาย"
บางคนว่า"ความสุขอยู่ที่ทรัพย์" อเนกนับ"เงินทองของทั้งหลาย"
ได้กินอยู่เที่ยวสำอางอย่างมากมาย ก็"สขกายสุขใจเพราะมั่งมี"
ฉันไม่เคยรู้จัก"ความมั่งคั่ง และไม่หวังที่จะเด่นเป็นเศรษฐี"
เงินเดือนได้ก็ต้องใช้ไปพอดี "ความมั่งมีเป็นอย่างไร?ไม่เคยรู้"!!!
มีที่ดินครอบครองอยู่สองไร่ บ้านเรือนก็ไม่ใหญ่พอทำอยู่-
เป็นชั้นเดียวสามห้องลองไปดู ไม่เคยหรูสู้เสงี่ยมคอยเจียมตน!!!
แต่กระนั้น"ฉันนี้ก็มีสุข ไม่เคยทุกข์ขุ่นเคืองเรื่องลาภผล
จะมีน้อยมีมากหรือยากจน ไม่ร้อนรนคิดละโมบเรื่องเงินทอง"!!!
"ทรัพย์มิได้ให้สุขแก่ตัวฉัน ความสุขนั้นมิได้อยู่ที่ข้าวของ
แต่ฉันสุขด้วยอะไร?"ลองไตร่ตรอง ได้พบช่องตอบปัญหาว่าตามจริง
มีบางท่านยึดมั่นบรรยาย ว่า"ความสุขของชายนั่นคือหญิง"
ฉันก็รู้อยู่บ้างจะอ้างอิง ว่า"ไม่จริง"เหมือนคำที่รำพัน!!!
ฉันเคยอยู่ศิลปากรมาเก้าปี "ผู้หญิงมีสวยสำอางอย่างสวรรค์"
คนก็คอยกล่าวโทษโจษจัน เสกสรรปั้นข่าวให้ร้าวราน!!!
ฉันไม่เคยทำอะไรให้ผิดพลั้ง ทั้งต่อหน้าลับหลังทุกสถาน
คนทั้งเมืองรู้เห็นเป็นพยาน ที่เคยพาลกลับน้อมยอมจำนน!!!
ฉันทำตัวเหมือนมดแดงแฝงมะม่วง ที่แตกช่อก่อพวงเป็นลูกผล
แต่ไม่เคยแตะต้องข้องกังวล จนสุกงอมหอมหล่นคนเก็บไป!!!
ถึงกระนั้น"ตัวฉันก็เป็นสุข ไม่เคยทุกข์ร้อนรนกับคนไหน?
จะว่าหญิงให้สุขได้อย่างไร? ยังห่างไกลจากปัญหาที่ว่ากัน
เคยเห็นเพื่อน"เสพสุราว่าเป็นสุข" ลองดูบ้างไม่สนุกสำหรับฉัน
ปวดศีรษะคลุ้มคลั่งไปทั้งวัน!!! ต้องเลิกกันยอมแพ้แก่สุรา!!!
เรื่องเที่ยวเตร่ก็ไม่รู้จะไปไหน? "ถึงออกไปก็ไม่สุข"เหมือนดังว่า
เออ..นี่เรา"เอาสุขที่ไหนมา?" ดีหรือบ้าไม่รู้!!!...ดูแปลกคน!!!
ต้องนึกถามในใจอันแท้จริง พร้อมทั้งสิ่งแวดล้อมและเหตุผล
ก็ตอบได้ว่า"เรื่องทุกข์-สุขในตน แล้วแต่ใจของคน"ที่เกิดมา!!!
"สุขของฉันอยู่ที่งานหล่อเลี้ยงจิต" สุขของฉันอยู่ที่คิดสมบัติบ้า!!!
คิดทำโน่นทำนี่ทุกเวลา "เมื่อเห็นงานก้าวหน้าก็สุขใจ"!!!
"งานยิ่งมีมากจริงยิ่งเป็นสุข งานยิ่งชุกมันสมองยิ่งผ่องใส
เมื่อทำงานได้เสร็จสำเร็จไป ก็สุขใจปลาบปลื้มลืมทุกข์ร้อน"!!!
เมื่อเสนองานไปให้นายกฯ ก็วิตกหนักใจเข้าไว้ก่อน
ถูกหรือไม่?ชอบหรือไม่?ใจยังร้อน จนเข้านอนยังระลึกนึกถึงงาน!!!
เมื่อส่งกลับสั่งประทับว่า"ชอบแล้ว เหมือนได้แก้วแสนสุขสนุกสนาน
บังเกิดความเริงรื่นและชื่นบาน ผลของงานทำให้เป็นสุขจริง"!!!
เมื่อเห็นงานเดินตลอดได้ปลอดโปร่ง ก็ใจโล่ง"หมดทุกข์เป็นสุขยิ่ง"!!!
ที่กล่าวนี้กล่าวไปด้วยใจจริง มิใช่หยิ่งผยองเผยอตัว
"ฉันรักงานรักจริงยิ่งชีวิต ถูกหรือผิดอยากจะทำให้ถ้วนทั่ว
ถ้าทำผิดก็เป็นครูอยู่กับตัว ดีหรือชั่วขอให้ได้ทำงาน"!!!
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)