คือ การใช้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
(เครดิตแห่งการเขียน...พระมหาสมบัติ์ ฉลองนิติติ์กุล , ผศ.ดร)
ช่วงต้น คือ พระพุทธเจ้า เผยแผ่ศาสนาด้วยพระองค์เอง (การนำร่อง)
ช่วงกลาง คือ พระพุทธเจ้า เผยแผ่ศาสนาโดยใช้พระสงฆ์ จำนวน 60 รูป โดยมีโอวาทว่า "จงไปคนเดียวหลายทาง(ดาวกระจาย)
ช่วงปลาย คือ พระพุทธเจ้า เผยแผ่ศาสนาศาสนาโดยใช้พระธรรม (หลังพระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้วคำสั่งสอนของพระองค์ยังอยู่)
พระพุทธเจ้าทำอะไรหลังจากตรัสรู้
หลังจากตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุข (คือการพบสุขที่เกิดเพราะความหลุดพ้น จากกิเลส) อยู่ในที่ ๗ แห่งๆ ละ ๗ วัน ดังนี้
สัปดาห์แรก
ประทับนั่งสมาธิที่วัชรอาสน์ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ๗ วัน พระพุทธองค์ได้กำหนดนึกในใจ เพื่อพิจารณาทบทวนเรื่องราว โดยตามลำดับ ตลอดปฐมยามแห่งราตรีนั้น แล้วทรงเปล่งอุทานว่า "ในการใดแล ธรรมทั้งหลาย มาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ"
ในเวลากลางคืน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท แบบย้อนตามลำดับ คือพิจารณาจากปลายมาจุดเริ่มแรกแล้วมีพุทธอุทานว่า "ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย"
ในปัจฉิมยาม ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งตามลำดับและ ย้อนตามลำดับแล้วมีพุทธอุทานขึ้นว่า "ในกาลใดแลธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้นพราหมณ์ผู้นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั้น"
สัปดาห์ที่สอง
อนิมิสเจดีย์-ทรงพระดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อได้ระยะพอควรกับการทอดพระเนตร ก็ทรงหันกลับพระพักตร์มายืนพิจารณาต้นโพธิ์ที่ได้ตรัสรู้นั้น ทรงลืมพระเนตรโดยมิได้กระพริบเลยตลอดสัปดาห์ เพื่อทบทวนความทรงจำต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วโดยลำดับ ความหมุนเวียนผันแปรอันเกิดขึ้นตามอำนาจของสังขารจักรก็มาหยุดลงแค่นี้ ต้นมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นที่ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสัจจธรรมอันบริสุทธิ์ สามารถชำระล้างกิเลสนานาชนิดของสัตว์โลกได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ทรงพอพระทัยในการตรัสรู้นี้เป็นอย่างยิ่ง สถานที่นี้จึงเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่สาม
เสด็จมาเดินจงกรมอยู่ ๗ วัน ตรงระหว่างกลางแห่งอนิมิสเจดีย์กับต้นศรีมหาโพธิ์ ทางด้านเหนือของวิหาร ที่ตรงนั้นเขาก่อฐานปูนสูงขึ้นประมาณ ๔ ฟุต จากพื้นถนน แล้วสลักหินเป็นรูปดอกบัวโตพอประมาณ ๑๙ ดอก แสดงว่าเป็นทางเดินจงกรมของพระพุทธองค์เรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์
สัปดาห์ที่สี่
เทวดาเนรมิตเรือนแก้วขึ้นทางทิศเหนือของต้นโพธิ์ เสด็จนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎกสิ้นเจ็ดวัน สถานที่นี้เรียกว่ารัตนฆรเจดีย์
สัปดาห์ที่ห้า
เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปยังต้นไทรอชปาลนิโครธ ประทับอยู่เจ็ดวันขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่ ธิดาพญามารสามตน คือ ราคะ อรตี และตัณหา ได้อาสาพ่อเข้าไปประเล้าประโลมด้วยเสน่ห์กามคุณต่างๆ นานา พระองค์กลับไล่ไปเสียแสดงถึงบุคลิกลักษณะอันประเสริฐของผู้ชนะตนได้แล้ว จะไม่ยอมกลับเป็นผู้แพ้อีก
สัปดาห์ที่หก
ทรงเสด็จเสวยวิมุตติสุขที่สระมุจลินท์ (มุจลินท์เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ไม้จิก ปัจจุบันทั้งสระน้ำมุจลินท์และต้นมุจลินท์ไม่มีให้เห็นแล้ว มีแต่สระมุจลินท์จำลองที่สร้างไว้ใกล้ๆ อาณาบริเวณวิหารพุทธคยา ทั้งนี้ เพื่อกันลืมสระดั้งเดิม) และเพราะต้นมุจลินท์ขึ้นอยู่ริมสระแห่งนั้นจึงมีชื่อว่า สระมุจลินท์ เมื่อพระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขได้ ๗ วัน ที่ใต้ต้นอชปาลนิโครธแล้ว ได้เสด็จมาประทับที่ใต้ต้นจิกริมสระนี้ ตอนนั้นเกิดฝนตกหนักเจือด้วยลมหนาว ฝนตกพรำอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน ร้อนถึงพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระนี้ ขึ้นมาขดตัวเจ็ดรอบแลแผ่พังพานเพื่อจะป้องกันฝนและลมมิให้ถูกพระวรกาย (นี้เป็นกำเนิดของพระพุทธรูปางนาคปรก) ครั้นฝนหายแล้วก็คลายขนดออก จำแลงเพศเป็นชายหนุ่มมายืนเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์พระองค์ ได้ทรงเปล่งอุทานเป็นภาษิตที่ไพเราะจับใจดังนี้
"ความสงบสงัดเป็นสุขสำหรับบุคคลผู้ได้เจริญธรรมแล้วยินดีอยู่ในสงัด ทำให้ได้ตามรู้ตามเห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง ทำให้สำรวมระวังตัว เลิกการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย และสิ้นความกำหนัด คือความล่วงกามคุณทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง ความละคลายการถือตน ถือว่ามีตัวมีตนให้หมดได้ เป็นความสุขอย่างยิ่ง"
สัปดาห์ที่เจ็ด
ราชายตนเสด็จประทับที่ร่มต้นไม้เกตนี้ เป็นสัปดาห์สุดท้ายหลังจากตรัสรู้แล้วและได้ทรงอดอาหารมาเป็นเวลา ๔๙ วัน ณ ที่ราชายตนะนี้เอง ได้มีนายพานิชสองคนเป็นชาวพม่าผ่านมา ชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้เกต มีพระรัศมีอันผ่องใสงดงามยิ่งนัก ก็บังเกิดความเลื่อมใส จึงนำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงเดินทางของตน แล้วประกาศตนเป็นอุบาสกคู่แรกของพระพุทธศาสนา และทูลขอของที่ระลึกจากพระองค์เพื่อเอาไปบูชา พระองค์ทรงรับด้วยบาตรที่ท้าวจตุมหาราชทั้งสี่นำมาถวาย ซึ่งทรงอธิษฐานให้รวมเข้าเป็นใบเดียวกัน (ในทางประวัติศาสตร์ พม่าได้ไปมาค้าขายกับอินเดียมาช้านานแล้ว พอออกพรรษาน้ำหยุดท่วมนอง ชาวพม่าจะบรรทุกของใส่เกวียนมาแลกสินค้ากับอินเดีย กลับไปกลับมาอยู่เป็นประจำ)
พระพุทธองค์เสวยข้าวสัตตุแล้ว ทรงอนุโมทนาในความศรัทธาของ ตปุสสะกับภัลลิกะ และทรงลูบพระเกศา (ผม) พระเกศาตกลงมา ๘ เส้น มอบให้พ่อค้าทั้งสองไปเป็นการสนองความศรัทธาของเขา ชาวพม่าทั้งสองนี้ได้นำพระเกศา ๘ เส้นนั้น กลับไปเมืองย่างกุ้ง พอถึงพม่าได้มีพิธีสมโภชเส้นพระเกศานี้หลายวันหลายคืน และได้จัดสร้างพระเจดีย์ชะเวดากอง บรรจุพระเกศาธาตุ มาจนถึงตราบเท่าทุกวันนี้
ครั้นเมื่อผ่านไป 7 วัน
ปฐมเทศนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จจากควงไม้ราชายตนะเข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธนั้นอีก ทรงปริวิตกว่า
“ ธรรมที่พระองค์บรรลุนั้นสุขุมลุ่มลึกเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เพราะเป็นธรรมที่สงบ ประณีต ละเอียด เป็นวิสัยของบัณฑิตเท่านั้นที่จะพึงรู้แจ้ง ก็ถ้าเราจะแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”
“ ธรรมที่พระองค์บรรลุนั้นสุขุมลุ่มลึกเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เพราะเป็นธรรมที่สงบ ประณีต ละเอียด เป็นวิสัยของบัณฑิตเท่านั้นที่จะพึงรู้แจ้ง ก็ถ้าเราจะแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”
ครั้นเมื่อพระองค์ทรงอธิษฐานจิต เพื่อที่จะแสดงพระธรรมเทศนาเช่นนั้นแล้ว จึงทรงดำริหาผู้ที่สมควรจะได้รับพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระองค์ได้ทรงปรารภถึงอาฬารดาบสกาลามโคตร ผู้เป็นบัณฑิตที่จะรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็วพลัน เมื่อตรวจดูอีก ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้นได้เสียชีวิตได้ 7 วันแล้ว จึงทรงระลึกถึงอุททกดาบสรามบุตร ก็ทรงทราบว่า แม้อุททกดาบสก็ได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อพลบค่ำเย็นวานนี้ จึงทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์และได้ตกลงพระทัยที่จะแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภที่จะแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ ในรุ่งเช้า พระองค์ก็ทรงเสด็จดำเนินไปยังป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่อาศัยอยู่ของพวกปัญจวัคคีย์ โดยในระหว่างทางพระองค์ก็ได้พบอุปกาชีวก ผู้ไม่เชื่อความที่พระองค์ตรัสรู้เอง และหลังจากนั้นพระองค์ก็เดินทางมาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์แล้ว ไม่ได้ให้การต้อนรับ เนื่องจากยังผิดหวังกับพระองค์ที่เลิกการทำทุกกรกิริยา แต่ด้วยบุญบารมีที่เคยสร้างด้วยกันมากับพระพุทธเจ้า ประกอบกับบุญที่ตนได้ทำเอาไว้ในกาลก่อน จึงทำให้ปัญจวัคคีย์ทำการดูแลต้อนรับอย่างดี ยอมเชื่อฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกอย่าง
จากนั้นพระองค์จึงได้แสดงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ มีชื่อว่า “ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”6) ซึ่งตรงกับ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ (เดือนอาสาฬหะ) ซึ่งมีเนื้อความที่แสดงถึงทางสุดโต่ง 2 สายที่บุคคลไม่ควรเสพ แต่ให้ปฏิบัติตามทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ 8 ก็จะเห็นถึงความจริงของชีวิตทั้งหมดที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ซึ่งการแสดงพระธรรมเทศนาในครั้งนี้ ทำให้โกณฑัญญะพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นโสดาปัตติมรรค เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า “ อญญาสิ วต โภ โกณฺฑญโญ” และประทานการบวช แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ด้วยการเปล่งพระวาจาว่า “ เธอจงเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” ต่อมาปัญจวัคคีย์ 4 คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา เช่นกัน จากนั้นทรงแสดง “ อนัตตลักขณสูตร”7) ซึ่งมีเนื้อความที่แสดงถึงว่า ขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น ก็จะทำให้ใจพ้นจากอาสวะได้ ซึ่งการแสดงพระธรรมเทศนาในเรื่องนี้ ทำให้ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเวลานั้นเอง
ประกาศพระศาสนา
แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตร
ในครั้งนั้น มีกุลบุตรเศรษฐี ชื่อว่า ยสะ ซึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่ประทับของพระพุทธเจ้า เกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือน จึงเดินมายังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พร้อมเปล่งอุทานว่า “ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”
เมื่อเดินมาถึงยังที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์เมื่อได้ยินเสียงนั้นจึงตรัสตอบไปว่า
“ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน”
เมื่อยสกุลบุตรได้ยินเช่นนั้นจึงเข้าไป ยังที่ประทับของพระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา8) แก่ยสกุลบุตร จากนั้นก็แสดงอริยสัจ 4 เมื่อจบพระธรรมเทศนายสกุลบุตรได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
ในครั้งนั้น มีกุลบุตรเศรษฐี ชื่อว่า ยสะ ซึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่ประทับของพระพุทธเจ้า เกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือน จึงเดินมายังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พร้อมเปล่งอุทานว่า “ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ”
เมื่อเดินมาถึงยังที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์เมื่อได้ยินเสียงนั้นจึงตรัสตอบไปว่า
“ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน”
เมื่อยสกุลบุตรได้ยินเช่นนั้นจึงเข้าไป ยังที่ประทับของพระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา8) แก่ยสกุลบุตร จากนั้นก็แสดงอริยสัจ 4 เมื่อจบพระธรรมเทศนายสกุลบุตรได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
การที่ยสกุลบุตรเข้ามาบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นผลดีกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่าง มาก เพราะพระยสะมีสหายมาก เมื่อท่านเข้ามาบวชแล้ว สหายเหล่านั้นก็ได้พากันบวชตามเข้ามา อีกเป็น จำนวนมาก ทำให้มีพระสาวกเพิ่มมากขึ้น เป็นกำลังในการประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่กระจายได้มากขึ้นด้วย เมื่อมีจำนวนของพระสาวกมากถึง 60 รูป ซึ่งพอที่จะเป็นกำลังในการเผยแผ่พระศาสนาเพื่อ ประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนายังที่ต่างๆ ทั่วแผ่นดิน ซึ่งก่อนที่จะออกไปประกาศพระศาสนา พระพุทธองค์ก็ได้ให้โอวาทแก่พระสาวกเหล่านั้นว่า
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี”9)
ประกาศศาสนา ณ อุรุเวลาเสนานิคม
การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังอุรุเวลาเสนานิคมนี้ ก็ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ เพื่อจะทรงเปลื้องปฏิญญา ที่ได้ทรงให้ไว้กับพระเจ้าพิมพิสารตั้งแต่เมื่อครั้งที่เสด็จออกทรงผนวช11) และเพื่อจะปดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรในเมืองราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ทั้งยังเป็นที่รวมอยู่ของนักบวชเจ้าลัทธิ มากมายในยุคนั้น แต่การที่จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรอยู่ในราชคฤห์ซึ่งมีศาสนาอื่นอยู่ก่อน นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประชาชนในเมืองล้วนนับถือเจ้าลัทธิต่างๆ กันมาก ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเทศนา สั่งสอนพวกเจ้าลัทธิเหล่านั้นให้เกิดความเลื่อมใสพระพุทธองค์ก่อน โดยเฉพาะอุรุเวลกัสสปะซึ่งถือว่า เป็นอาจารย์ใหญ่ที่สุด แม้กระทั่งพระเจ้าพิมพิสารยังให้ความเคารพนับถือ
ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปโปรดอุรุเวลกัสสปะให้เลื่อมใสก่อน ก็จะทำให้พระพุทธศาสนา สามารถประดิษฐานในเมืองราชคฤห์ได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้น เพราะเมื่ออุรุเวลกัสสปะให้ความเคารพ เลื่อมใสนับถือพระองค์แล้ว เหล่าศิษยานุศิษย์ของอุรุเวลกัสสปะซึ่งรวมถึงพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นกษัตริย์ แห่งเมืองราชคฤห์ ก็ย่อมที่จะมานับถือพระองค์ตามอุรุเวลกัสสปะอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พระพุทธศาสนาสามารถที่จะเผยแผ่ยังเมืองราชคฤห์ได้ และยังทำให้การประกาศพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ทำได้ง่ายขึ้นและยังรวดเร็วไปทั่วแผ่นดินได้ง่าย เนื่องจากราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการค้าขายและมีผู้คนเข้าออกเมืองมาก ก็ทำให้คนที่เข้ามาเมืองนี้ได้รู้ข่าวการบังเกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะพากันไปบอกกล่าวกันต่อ เมื่อผู้ที่ทราบข่าวก็จะมาหาพระพุทธองค์และมาศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไป
พบอัครสาวก
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ส่งพระสาวกออกไปประกาศพระพุทธศาสนายังสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ก็ทำให้ในสถานที่ที่พระสาวกได้เดินทางไปถึงก็ทำให้มีผู้คนมานับถือพระพุทธศาสนากันมากเพิ่มขึ้น และยังมีคนอีกจำนวนมากที่อยากที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนากัน เหมือนอย่างที่พระอัสสชิได้ทำให้พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นอัครสาวกได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งในขณะนั้นท่าน ทั้งสองเป็นปริพาชก มีชื่อเดิมว่า อุปติสสะและโกลิตะ ท่านทั้งสองเป็นสหายกัน ต่างมีบริวาร 250 คนอาศัย อยู่ที่กรุงราชคฤห์ และออกบวชเป็นศิษย์ของท่านสัญชัยปริพาชกเรียนจนจบความรู้ของอาจารย์ก็ยังไม่พบสิ่งที่ตนเองต้องการ
วันหนึ่งท่านทั้งสองต่างก็สัญญาว่าจะไปค้นหาอาจารย์เพื่อที่จะหาวิชาความจริงของชีวิต และถ้าใครพบเจอก่อนก็ให้มาบอกกับอีกคนให้ทราบด้วย ในที่สุดอุปติสสะก็ได้มาพบพระอัสสชิ จึงเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ได้เข้าไปกราบเรียนถามพระอัสสชิว่า
“ ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่านสอนเช่นไร”
พระอัสสชิทราบว่าอุปติสสะเป็นนักบวชที่มีปัญญามากจึงกล่าวไปว่า
“ ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดา ของเราทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระองค์ทรงมีปกติสั่งสอนอย่างนี้”12)
ด้วยปัญญาของอุปติสสะที่เคยฝึกฝนมาในอดีตชาติ จึงทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม จากนั้นจึงรีบกลับไปหา โกลิตะและบอกเรื่องราวที่ตนเองได้ไปเจอมา หลังจากโกลิตะฟังจบก็เกิดดวงตาเห็นธรรม
ท่านทั้งสองได้พากันไปบอกข่าวนี้แก่พระอาจารย์สัญชัยปริพาชก แต่พระอาจารย์กลับไม่เชื่อ ทั้งสองจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับบริวารจำนวนหนึ่ง และได้รับประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังท่านทั้งสองก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และทรงประทานนามของท่านทั้งสองตามนาม ของพระมารดาว่า สารีบุตรแก่อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรของนางสารี และประทานนามว่า โมคคัลลานะ แก่โกลิตะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคัลลี นอกจากนี้ยังได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นอัครสาวก
แสดงโอวาทปาฏิโมกข์
เมื่อเหล่าพระสาวกได้ออกจาริกไปเผยแผ่พระศาสนากันทั่วประเทศ ก็ไม่ได้มารวมกันหรือประชุมกันเลย ต่างก็แยกย้ายกันออกไปทำหน้าที่ในการเผยแผ่ตามเส้นทางที่ตนได้เดินทางไป ซึ่งทุกรูปที่จาริกไปก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด จึงไม่ได้มีการเรียกประชุมกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีเรื่องอันเป็นเหตุน่าอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา คือ ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ได้มีพระภิกษุสาวกจำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมายที่พระวิหารเวฬุวันสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในขณะนั้น การประชุมในครั้งนี้จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต เพราะประกอบพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ คือ
1. เป็นวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2. ภิกษุสาวกจำนวน 1,250 รูป เดินทางมาจากทิศทั้ง 4 มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมาย
3. ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
4. ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ทั้งหมด
วันหนึ่งท่านทั้งสองต่างก็สัญญาว่าจะไปค้นหาอาจารย์เพื่อที่จะหาวิชาความจริงของชีวิต และถ้าใครพบเจอก่อนก็ให้มาบอกกับอีกคนให้ทราบด้วย ในที่สุดอุปติสสะก็ได้มาพบพระอัสสชิ จึงเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ได้เข้าไปกราบเรียนถามพระอัสสชิว่า
“ ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่านสอนเช่นไร”
พระอัสสชิทราบว่าอุปติสสะเป็นนักบวชที่มีปัญญามากจึงกล่าวไปว่า
“ ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดา ของเราทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระองค์ทรงมีปกติสั่งสอนอย่างนี้”12)
ด้วยปัญญาของอุปติสสะที่เคยฝึกฝนมาในอดีตชาติ จึงทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม จากนั้นจึงรีบกลับไปหา โกลิตะและบอกเรื่องราวที่ตนเองได้ไปเจอมา หลังจากโกลิตะฟังจบก็เกิดดวงตาเห็นธรรม
ท่านทั้งสองได้พากันไปบอกข่าวนี้แก่พระอาจารย์สัญชัยปริพาชก แต่พระอาจารย์กลับไม่เชื่อ ทั้งสองจึงได้เดินทางไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับบริวารจำนวนหนึ่ง และได้รับประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังท่านทั้งสองก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และทรงประทานนามของท่านทั้งสองตามนาม ของพระมารดาว่า สารีบุตรแก่อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรของนางสารี และประทานนามว่า โมคคัลลานะ แก่โกลิตะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคัลลี นอกจากนี้ยังได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นอัครสาวก
แสดงโอวาทปาฏิโมกข์
เมื่อเหล่าพระสาวกได้ออกจาริกไปเผยแผ่พระศาสนากันทั่วประเทศ ก็ไม่ได้มารวมกันหรือประชุมกันเลย ต่างก็แยกย้ายกันออกไปทำหน้าที่ในการเผยแผ่ตามเส้นทางที่ตนได้เดินทางไป ซึ่งทุกรูปที่จาริกไปก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด จึงไม่ได้มีการเรียกประชุมกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีเรื่องอันเป็นเหตุน่าอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา คือ ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ได้มีพระภิกษุสาวกจำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมายที่พระวิหารเวฬุวันสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในขณะนั้น การประชุมในครั้งนี้จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต เพราะประกอบพร้อมด้วยองค์ 4 ประการ คือ
1. เป็นวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
2. ภิกษุสาวกจำนวน 1,250 รูป เดินทางมาจากทิศทั้ง 4 มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมาย
3. ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
4. ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ทั้งหมด
ในการประชุมครั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทพระปาฏิโมกข์ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ 1,250 รูป ซึ่งถือว่าเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา และเป็นนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อให้คณะสงฆ์ยึดเป็นหลักปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. อุดมการณ์หรือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ ความอดทน พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง และบรรพชิตผู้ทำร้ายผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
2. หลักการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส
3. วิธีการที่จะนำไปสู่การบรรลุถึงอุดมการณ์และหลักการดำเนินชีวิต คือ การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้ประมาณใน ภัตตาหาร อยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด และประกอบความเพียรในอธิจิต
1. อุดมการณ์หรือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ ความอดทน พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง และบรรพชิตผู้ทำร้ายผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
2. หลักการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส
3. วิธีการที่จะนำไปสู่การบรรลุถึงอุดมการณ์และหลักการดำเนินชีวิต คือ การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ความเป็นผู้รู้ประมาณใน ภัตตาหาร อยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด และประกอบความเพียรในอธิจิต
เสด็จโปรดพระญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
ตั้งแต่วันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกผนวชอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตในขณะที่ทรงมี พระชนมายุ 29 พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาทรงติดตามสดับข่าวของพระองค์อยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกกิริยาอยู่นั้น เทวดาจะนำข่าวมาแจ้งให้ทรงทราบเป็นระยะๆ ต่อมาพระเจ้า สุทโธทนะทรงทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้แล้ว ในขณะนี้ประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ จึงส่งอำมาตย์ 1 คนพร้อมบริวาร 1,000 คน ส่งสาส์นไปกราบนิมนต์พระพุทธเจ้า 9 ครั้ง ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะที่พระองค์กำลังทรงแสดงธรรม และได้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์ออกบวชกันหมดทำให้ไม่ได้ยื่นสาสน์ที่พระเจ้าสุทโธทนะฝากไป ในที่สุดพระเจ้าสุทโธทนะได้ขอร้องให้กาฬุทายีอำมาตย์ผู้ ใกล้ชิดถือสาสน์ไปกราบนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยกำชับว่า ไม่ว่ากาฬุทายีจะออกบวชหรือไม่ก็ตามต้องกลับมาส่งข่าวให้พระองค์ทราบ กาฬุทายีและบริวาร 1,000 คนได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ขณะที่พระองค์กำลังแสดงธรรมอยู่ ทำให้กาฬุทายีพร้อมกับบริวารได้ฟังธรรมที่ทรงแสดงจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานการบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
พระกาฬุทายีรอเวลาที่สมควรจึงได้กราบทูลว่า
“ ข้าพระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนะมีพระประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์จงทำการสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายด้วยเถิดพระเจ้าข้า”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับคำของพระกาฬุทายีแล้ว จึงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวน 20,000 รูปเสด็จออกจากเมืองราชคฤห์ใช้เวลา 2 เดือนก็ถึงเมืองกบิลพัสดุ์
เมื่อพระพุทธองค์พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว ทรงเห็นกิริยาอาการของเหล่าประยูรญาติผู้ใหญ่ที่ไม่เคารพนบน้อมพระองค์และเหล่าภิกษุสงฆ์ จึงได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ เพื่อทำลายมานะทิฏฐิของพวกศากยะ พระเจ้าสุทโธทนะเห็นความอัศจรรย์ครั้งนี้ จึงก้มลงกราบพระพุทธเจ้า ทำให้พระประยูรญาติทั้งหลายหมดสิ้นทิฏฐิมานะได้ ก้มลงกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันหมด และในขณะ ที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาประทับนั่ง ได้มีฝนโบกขรพรรษ14) ตกลงมา พระพุทธองค์จึงอาศัยเหตุนี้ตรัส เวสสันดรชาดก
รุ่งขึ้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดประชาชน ให้ได้ทำบุญ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบจึงรีบเสด็จมากล่าวยับยั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยอ้างถึงความเป็นราชวงศ์ ไม่ควรทำอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสตอบด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนว่า
“ ตอนนี้อาตมามิใช่วงศ์กษัตริย์อีกต่อไปแล้ว อาตมาออกบวชสละราชสมบัติเพื่อเดินตามรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ อาตมาเป็นพุทธวงศ์ อาตมาเดินบิณฑบาตนั้นก็เป็นประเพณีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ ที่ทรงกระทำมา”
แล้วได้ทรงแสดง ธรรมแก่พระพุทธบิดา เมื่อตรัสจบแล้ว ทำให้พระพุทธบิดาตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงรับบาตรและนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันตสาวกฉันภัตตาหาร
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนตั้งอยู่ในสกทาคามิผลแล้ว พระพุทธองค์ก็ได้ไปโปรดพระนางยโสธราและราหุลกุมาร ในการเสด็จโปรดครั้งนี้ พระพุทธองค์ก็ได้มอบอริยทรัพย์ให้แก่พระราหุลกุมารด้วยการให้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ให้นันทศากยบุตรได้บวชในพระพุทธศาสนา หลัง จากที่ทำอุบายให้นันทะตามเสด็จพระองค์กลับไปราชคฤห์
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว ในระหว่างทางที่เสด็จประทับพักแรมอยู่ที่อนุปิยนิคมของแคว้นมัลละ มีเจ้าศากยะ 6 องค์ คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภคุ กิมพิละ เทวทัต พร้อมด้วยช่างกัลบกหนึ่งคน ชื่อว่า อุบาลี ได้มาทูลขอพระพุทธองค์บรรพชาอุปสมบท ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงให้บรรพชาอุปสมบท จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุ ก็เสด็จออกจากอนุปิยนิคมไปเมืองราชคฤห์ ประทับอยู่ที่เวฬุวัน โดยลำดับ และหลังจากเหตุการณ์นี้จึงทำให้พระพุทธองค์ทรงได้อุปัฏฐากประจำตัว คือ พระอานนท์ ผู้ที่คอยอุปัฏฐากดูแลตลอดพระชนมชีพของพระพุทธองค์
นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป พระพุทธศาสนาก็ได้เจริญแพร่หลายออกไปสู่แคว้นต่างๆ มากยิ่งขึ้นโดยลำดับ พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวเมืองต่างๆ ก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ดังเช่น สุทัตตเศรษฐี หรือที่ชาวเมืองรู้จักกันในชื่อว่า อนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้มาพบพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ ก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใส และได้สร้างวิหารพระเชตวันที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ในที่นี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแคว้นโกศลเป็นต้นมา
พระกาฬุทายีรอเวลาที่สมควรจึงได้กราบทูลว่า
“ ข้าพระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนะมีพระประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์จงทำการสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายด้วยเถิดพระเจ้าข้า”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับคำของพระกาฬุทายีแล้ว จึงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวน 20,000 รูปเสด็จออกจากเมืองราชคฤห์ใช้เวลา 2 เดือนก็ถึงเมืองกบิลพัสดุ์
เมื่อพระพุทธองค์พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว ทรงเห็นกิริยาอาการของเหล่าประยูรญาติผู้ใหญ่ที่ไม่เคารพนบน้อมพระองค์และเหล่าภิกษุสงฆ์ จึงได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ เพื่อทำลายมานะทิฏฐิของพวกศากยะ พระเจ้าสุทโธทนะเห็นความอัศจรรย์ครั้งนี้ จึงก้มลงกราบพระพุทธเจ้า ทำให้พระประยูรญาติทั้งหลายหมดสิ้นทิฏฐิมานะได้ ก้มลงกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันหมด และในขณะ ที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาประทับนั่ง ได้มีฝนโบกขรพรรษ14) ตกลงมา พระพุทธองค์จึงอาศัยเหตุนี้ตรัส เวสสันดรชาดก
รุ่งขึ้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดประชาชน ให้ได้ทำบุญ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบจึงรีบเสด็จมากล่าวยับยั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยอ้างถึงความเป็นราชวงศ์ ไม่ควรทำอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสตอบด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนว่า
“ ตอนนี้อาตมามิใช่วงศ์กษัตริย์อีกต่อไปแล้ว อาตมาออกบวชสละราชสมบัติเพื่อเดินตามรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ อาตมาเป็นพุทธวงศ์ อาตมาเดินบิณฑบาตนั้นก็เป็นประเพณีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ ที่ทรงกระทำมา”
แล้วได้ทรงแสดง ธรรมแก่พระพุทธบิดา เมื่อตรัสจบแล้ว ทำให้พระพุทธบิดาตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงรับบาตรและนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันตสาวกฉันภัตตาหาร
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนตั้งอยู่ในสกทาคามิผลแล้ว พระพุทธองค์ก็ได้ไปโปรดพระนางยโสธราและราหุลกุมาร ในการเสด็จโปรดครั้งนี้ พระพุทธองค์ก็ได้มอบอริยทรัพย์ให้แก่พระราหุลกุมารด้วยการให้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ให้นันทศากยบุตรได้บวชในพระพุทธศาสนา หลัง จากที่ทำอุบายให้นันทะตามเสด็จพระองค์กลับไปราชคฤห์
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว ในระหว่างทางที่เสด็จประทับพักแรมอยู่ที่อนุปิยนิคมของแคว้นมัลละ มีเจ้าศากยะ 6 องค์ คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภคุ กิมพิละ เทวทัต พร้อมด้วยช่างกัลบกหนึ่งคน ชื่อว่า อุบาลี ได้มาทูลขอพระพุทธองค์บรรพชาอุปสมบท ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงให้บรรพชาอุปสมบท จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุ ก็เสด็จออกจากอนุปิยนิคมไปเมืองราชคฤห์ ประทับอยู่ที่เวฬุวัน โดยลำดับ และหลังจากเหตุการณ์นี้จึงทำให้พระพุทธองค์ทรงได้อุปัฏฐากประจำตัว คือ พระอานนท์ ผู้ที่คอยอุปัฏฐากดูแลตลอดพระชนมชีพของพระพุทธองค์
นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป พระพุทธศาสนาก็ได้เจริญแพร่หลายออกไปสู่แคว้นต่างๆ มากยิ่งขึ้นโดยลำดับ พระมหากษัตริย์และประชาชนชาวเมืองต่างๆ ก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ดังเช่น สุทัตตเศรษฐี หรือที่ชาวเมืองรู้จักกันในชื่อว่า อนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้มาพบพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ ก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใส และได้สร้างวิหารพระเชตวันที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ในที่นี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแคว้นโกศลเป็นต้นมา
สรุปการเผยแผ่พระพุทธเจ้า
มีเหตุการณ์สำคัญ ดังนี้
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ
คือ เป็นวันพระพุทธเจ้าประสูติ, ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ และเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน
วันมาฆบูชา ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
เหตุการณ์
คือ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
เหตุการณ์
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก
จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถแสดง เปิดเผย ทำให้แจ้งแก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดย สมบูรณ์
เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3ของปีถัดมานับจากวันตรัสรู้ พระสงฆ์สาวก 1,250 รูป ที่เผยแผ่พระศาสนา
อยู่ในที่ต่างๆได้เดินทางกลับมาประชุมกัน ณ วัดเวฬุวัน โดยมิได้นัดหมาย
ในวันนี้พระพุทธองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์หลักธรรมซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
โดยทรงสอนพุทธบริษัท 4 ให้ละเว้นความชั่วให้ทำความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส วันนี้จึงเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง เรียกว่า “วันมาฆบูชา”
อยู่ในที่ต่างๆได้เดินทางกลับมาประชุมกัน ณ วัดเวฬุวัน โดยมิได้นัดหมาย
ในวันนี้พระพุทธองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์หลักธรรมซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
โดยทรงสอนพุทธบริษัท 4 ให้ละเว้นความชั่วให้ทำความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส วันนี้จึงเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง เรียกว่า “วันมาฆบูชา”
เครดิตแห่งการเขียนโดยท่าน พระมหาสมบัติ์ ฉลองนิติติ์กุล , ผศ.ดร
วิชากลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางการบริหารการศึกษาเชิงพุทธ (มจร.)