วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรื่อง ใบไม้ที่หายไป




บันทึกประวัติศาสตร์แห่งอารมณ์และความรู้สึกของคนร่วมยุคสมัย
ใบไม้ที่หายไป

แนวคิดทางการเมือง ใบไม้ที่หายไป
ประวัติผู้เขียน
จิระนันท์   พิตรปรีชา   เกิด ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ ที่อำเภอเมือง จังหวัด ตรัง
เป็นลูกคนกลาง ในจำนวนพี่น้องสามคน
บิดา นายนิรันดร์ พิตรปรีชา
มารดา   นางจิระ   พิตรปรีชา
                 ซึงแต่เดิมเป็นครู ต่อมาลาออกมาเปิดร้านขายหนังสือชื่อสิริบรรณการที่ครอบครัวมีร้านหนังสือทำให้จิระนันท์มีนิสัยรักการอ่านมาตั่งแต่เด็กอีกทั้งฝักใฝ่เขียนกลอน ตั้งแต่อายุ ๑๓-๑๔ปี          มีผลงานลงพิมพ์ในชัยพฤกษ์ และวิทยาสาร
                ใบไม้ที่หายไป เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตตอนหนึ่งของผู้ประพันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2513-2529 ตั้งแต่เป็นนักศึกษาผู้อุดมการณ์สูงและตัดสินใจร่วมขบวนสู้ของนักศึกษาประชาชนรุ่น 14 ตุลาคม 2516 กลวิธีการแต่งเป็นกลอนสุภาพ ใช้คำเรียบกระชับแต่เต็มไปด้วยพลังความบริสุทธิ์ของหนุ่มสาว ภาษามีรูปแบบกะทัดรัด และผู้เขียนไม่ได้วิจิตรบรรจงกับการสัมผัสมากเกินไปแต่ก็ไม่ได้ละทิ้งการสัมผัสในวรรค และการใช้คำซ้ำ กลอนจึงมีความไพเราะ
                และผลงานชุดนี้ส่งผลสะเทือนในวงกว้าง อาจมีผลสะท้อนต่อวิถีชีวิตหรือสถานภาพในสังคมซึ่งใครๆก็คิดว่าเป็นเรื่องได้มากกว่าเสียเพราะเป็นการตีแผ่ความจริงในสังคมการเมืองไทยสมัยนั้นให้คนรุ่นหลังได้ย้อนอดีตอันยาวนานที่น่าเศร้าที่เคยผ่านมาและกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษาและไม่น่าเชื่อว่าหัวเลี้ยวหัวต่อตรงนี้มีกลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวยและกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว กาพย์กลอนอันเป็นตัวแทนของสาวกลุ่มนี้ก็คือ บทกวีของสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ชื่อ กูเป็นนิสิตนักศึกษา (๒๕๑๑) และบทกวีของวิทยากร เชียงกูล ที่ว่า ฉันจึงมาตามหาความหมาย ในเพลงเถื่อนสถาบัน (๒๕๑๑) ผสานกับความคึกคะนองของกลุ่มปริทัศน์เสวนาของ ส.ศิวรักษ์ กระทั่งเกิดกลุ่มสภาน่าโดมและกลุ่มโซตัส ตลอดจนสถาบันของคนหนุ่มสาวแห่งอื่นก็ตื่นตัวและเติบโตขึ้นอย่างหนักแน่นและนี่คือ
ดอกไม้   ดอกไม้จะบาน
จิระนันท์ พิตรปรีชา ได้สรุปยุคสมัยของเธออย่างกระชับและงดงาม ดอกไม้” ของเธอคือหนุ่มสาวคือพลังศรัทธา บริสุทธิ์ กล้าหาญ เป็นจิตสำนึกที่ถูกปลุกขึ้นมาในยามสังคมมืดมนผู้คนหมักหมม
สตรีมีดวงตา
เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่
มองโลกอย่างกว้างไกล
มิใช่คอยชม้อยชวน
                                                นี่คือจิตรสำนึกของสตรีแห่งยุค เปลี่ยนมือที่อ่อนนิ่มเป็นลิ่มเหล็ก


ใบไม่ที่หายไป : กวีนิพนธ์แห่งชีวิต
                ใบไม่ที่หายไป เป็นกวีนิพนธ์แห่งชีวิตที่พิมพ์ในหนังสือคุณภาพในเครืออมรินทร์
เรื่องย่อ
เรื่องราวที่สะท้อนความคิด ความหวัง และปลุกจิตสำนึกของหนุ่มสาวในยุค 14 ตุลา 2516 ให้เชื่อมั่นในศรัทธาอันบริสุทธิ์ของตนเองว่าสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่ มืดมนให้สว่างไสวด้วยพลังของหนุ่มสาวกวีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวเชิงบันทึกของชีวิตตอนหนึ่งของผู้ประพันธ์ ตั้งแต่ได้เริ่มเข้าไปร่วมขบวนจวบจนกระทั่งได้ตระหนักความจริงของชีวิตที่ถูกธรรมชาติกำหนด สาระของบันทึกนี้มีทั้งความใฝ่ฝัน ปรัชญาชีวิต และอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาว ซึ่งเหตุการณ์ที่ตามมาคือกลุ่มนักศึกษาได้หนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การใช้ชีวิตในป่า เธอต้องพบกับความยากลำบาก คิดถึงบ้าน การค้นหาความหมายของชีวิตที่เต็มไปด้วยขวากหนาม แต่เธอก็สามารถทำตามอุดมการณ์ของตัวเองจนสำเร็จ และกลายเป็นวีรกรรมและตำนานที่ตรึงตราตรึงใจยุคสมัยนั้น “เปลี่ยนมือที่อ่อนนิ่มเป็นลิ่มเหล็ก

การตั้งชื่อเรื่อง
                ชื่อเรื่อง “ใบไม้ที่หายไป” เป็นการนำเอาเรื่องของชีวิตขบวนนักศึกษาที่ต้องวายชีวีเพื่อต้องการเรียกร้องความยุติธรรมกับมาสู่สังคมไทย จึงได้นำ ใบไม้” มาเปรียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนคำว่า ที่หายไป ก็หมายถึงนักศึกษาที่วายชีวีในเหตุการณ์ครั้งนั้น เช่น
                                                ขอเพียงอุทิศความตาย                        เป็นเครื่องหมายสัจจะ เย่อหยิ่ง
                                ผลิไม้ใบอ่อนซ้อนอิง                                          แตกกิ่งต่อก้านต้านเวลา
                                                ที่รักรีรอร้องร่ำทำไม?                    รีบก้าวต่อไปข้างหน้า
                                ทิ้งฉันไว้ ทิ้งฉันไว้ จะตายช้าช้า                       หากคุณค่าฉันสืบต่อ ฉันพอใจ
                                                                                                                                (พินัยกรรม หน้า ๗๕)
                จากบทประพันธ์ที่ยกมาก็เป็นบทประพันธ์หนึ่งในหนังสือ ใบไม้ที่หายไป ที่ทำให้รู้ถึงความเป็นมาของการตั้งชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้
กลวิธีการนำเสนอเรื่อง
                ผู้แต่งนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ที่ผู้ประพันธ์ได้สัมผัสมาจากความเป็นจริงทั้งหมดแล้วนำมาถ่ายทอดผ่านกวีนิพนธ์เล่มนี้เพื่อเป็นสื่อกลางในการตีแผ่เรื่องราวที่เกิดขึ้น เพื่อให้เห็นภาพสะท้อนทางสังคมการเมือง อารมณ์ความรู้สึก  และความกล้าหาญของบุคคลในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                วรรณกรรมนี้มีการใช้กลวิธีสื่อผ่านบทกวีที่แฝงไปด้วยความศรัทธา ความปวดร้าวเศร้าในจิตใจเพื่อสื่อสารความคิดความรู้สึกไปยังผู้อ่านให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มชัดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น
                                วิถีบาปสาปส่งลงมาหรือ?                 เพลิงกระพือผลาญชีวันอันใดหนอ
                ดินเปื้อนเลือดราดฟ้าน้ำตาคลอง                                      รันทดท้อเพลงตรมชั่วงมงาย
                                กระแสกรรมร่ำไรเริ่มไหลบ่า                           หลั่งมายาหล้าล่มจมสลาย
                ท่วมความคิดท้นความความหวังพังทลาย                      ทุกสิ่งคล้ายเศษสวะถูกชะพา
                                โลกอสัตย์บัดนี้ถึงที่สุด                                       ชาวโลกหยุดเมามัวกลั้วโมหา
                เลือดรินล้างแล้วลบกลบพสุธา                                         ฟ้าสีฟ้าสว่างวาม ความเป็นธรรม
                                                                                                                                (สันติภพ หน้า ๔)
ภาษาที่ใช้ในเรื่อง
                สำนวนภาษาที่ใช้สื่อความหมายชัดเจน ประพันธ์ได้ซึ้งกินใจใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายภาษาในการสื่ออารมณ์ออกมาผ่านบทกวีได้อย่างลงตัว เช่น
ขอปลอบขวัญทุกคนที่ล้นทุกข์
ด้วยแววสุกสกาวใสในเวหา
จะกล่อมเกลาชาวดินทุกวิญญาณ์
ให้เย็นตาเติมยิ้มอิ่มอารมณ์
                                                                                                                                (ปรัชญาราตรี หน้า๙)
                การบรรยายภาพทำได้ดีเมื่ออ่านแล้วทำให้เกิดมโนภาพชัดเจน ชวนเกิดเกิดความรู้สึกเศร้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะเป็นการบรรยายภาพเหตุการณ์ในชีวิตจริง  ตัวอย่างเช่น
แผ่นดินใหม่ตระหง่านหลังการล้าง
สิ้นทุกอย่างที่เคยเผยและผัน
โลกอยู่บนฐานบรรทัดปัจจุบัน
และแดนฝันสันตินี้ ไม่มี คน
                                                                                                                         (สันติภพ หน้า ๕)
                นอกจากนี้ภาษาที่ใช้ยังมีจุดเด่นในการนำเอาสุนทรียภาพทางด้านเสียงในวรรณกรรมและสุนทรียภาพทางด้านความหมายมาในวรรณกรรมมาใช้ในการประพันธ์
                สุนทรียภาพทางด้านเสียงในวรรณกรรม มีดังนี้
 การเล่นคำเพื่อนเน้นเสียง ในวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นกลวิธีที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งคุณภาพทางเสียงและทางความหมายในขณะเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
                                                ไม่เคยมีรุ้งงามในความฝัน                ไม่มีวันสุขปลื้มลืมหมองไหม้
                                ไม่ต้องการหวานล้ำน้ำคำใคร                           ไม่อยากได้สิ่งมายาค่านิยม
                                                                                                                                                (จุดหมาย หน้า๑๔)
การซ้ำคำ  ในวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นกลวิธีที่สร้างความไพเราะและสื่อความหมายด้านอารมณ์ ย้ำอารมณ์ความรู้สึกให้เด่นชัดหนักแน่น ตัวอย่างเช่น
เหม่อมองฟ้าสีฟ้ากว้างกว่ากว้าง                คิ้วรุ้งค้างเนตรสูรย์มุ่นหมอกเสย
แย้มเสี้ยวเมฆยิ้มแดดสีแสดเอย                                        หัตถ์ลมเชยเผยแก้มแพลมยิ้มพลัน
                                                                                                                                                                (ห้วงคำนึง หน้า ๓)

สุนทรียภาพทางด้านความหมายในวรรณกรรม มีดังนี้
                อุปลักษณ์ ในวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นกลวิธีการเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเท่ากัน
ตัวอย่างเช่น                          สิ่งผูกมัดศรัทธาเบื้องหน้านั้น                          คือความฝันฝังใจเคยใหลหลง
                                เอาศักดิ์ศรีชีวามาวางลง                                                     เป็นเดิมพันแกมทะนงกึ่งจงใจ
                                                                                                                (จุดหมาย หน้า๑๔)
                อุปมา ในวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นกลวิธีการเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
ผ่านปีเดือนเหมือนคืนตื่นจากหลับ                 ดื่มด่ำกับชีวิตนิมิตใหม่
ก็คือฟื้นตื่นตนนามคนไทย                                        ที่ฝันใฝ่สร้างสังคมอุดมการณ์
                                                                                                                                (ความในใจจากภูเขา หน้า ๓๒)
แนวคิดของเรื่อง
                ในวรรณกรรมเรื่อง ใบไม่ที่หายไป” ของจิระนันท์ พิตรปรีชา มีแนวคิดหลักที่ต้องการพูดถึงความไม่เป็นธรรมของการเมืองไทยเป็นเหตุทำให้มีผู้คนบริสุทธิ์ต้องตายอย่างน่าใจหาย ดังบทกวีที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น
                                                ล้มลงด้วยความช้ำ                               ย้ำลงด้วยคำเยาะหยัน
                                ซ้ำเติมด้วยการฟาดฟัน                                       ทิ้งฉันเป็นศพซบดิน
                                                รอวันเน่าเปื่อยผุป่น                            เกลื่อนกล่นเป็นกากซากสิ้น
                                อุทิศความพ่ายแพ้แก่ดิน                                     เพื่อวิญญาณพืชพันธุ์งอกงาม
                                                …ฉันแพ้แล้วฉันย่อมยอมใจ             ล้มไปคลุกคำย่ำหยาม
                                โดยลำพัง โดยลำพัง ยังพยายาม                      ยอมรับความอ่อนแอแท้จริง
                                                                                                                                (พินัยกรรมหน้า ๗๔)
                ผู้แต่งได้พูดถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่พรากชีวิตของผู้คนเหล่านั้นจากครอบครัวโดยไม่มีวันที่เขาเหล่านั้นจะหวนกลับคืนมา เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายทารุณของรัฐบาลในยุคนั้น รัฐบาลไม่ใช่แค่ปิดลมหายใจของคนเหล่านั้นเพียงอย่างเดียวสำหรับคนที่ยังมีลมหายใจก็เปรียบเสมือนกับคนที่ตายทั้งเป็นในเวลาเดียวกัน
ส่วนบทกวีที่สะท้อนความโหดร้ายของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตังอย่าง ในบทกวีที่ว่า
          “สิ่งผูกมัดศรัทธาเบื้องหน้านั้น                        คือความฝันฝังใจเคยใหลหลง
เอาศักดิ์ศรีชีวามาวางลง                                               เป็นเดิมพันแกมทะนงกึ่งจงใจ
          ไม่เคยมีรุ้งงามในความฝัน                                ไม่มีวันสุขปลื้มลืมหมองไหม้
ไม่ต้องการหวานล้ำน้ำคำใคร                                     ไม่อยากได้สิ่งมายาค่านิยม
          โลกที่ต้องรับรู้อยู่เดี๋ยวนี้                                      การราวีเข่นฆ่าน่าขื่นขม
ความจริงใจไร้นิยามลอยตามลม                                  ในสังคมที่ความกล้าคือราคี
          แสวงโชคโลกทรรศน์อันสัตย์ซื่อ                      ด้วยสองมือมั่นหมายการคลายคลี่
ความคิดในวัยเยาว์เท่าที่มี                                              จะล้างสีลบโศกที่โลกรู้
          ลบช่องว่างทางชนชั้นแก้ปัญหา                       โดยมาตราความพอดีถ้ามีอยู่
จะปรับหมุดยุติธรรมค้ำตราชู                                        เกมต่อสู้ก็สุดสิ้นหมดกลิ่นคาว
(จุดหมาย หน้า ๑๔)
          “เธออ่านนิยายใฝ่ฝัน                                            สงสัยค่ายุติธรรม์หายไปไหน
การต่อสู้เพื่อสิ่งนี้จะมีใคร                                              เธอก้าวไปค้นความจริง (อิงนิยาย)
                  (ปณิธารหนุ่มสาว หน้า ๒๖)
                จากบทกวีที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์อันสูงส่งของกลุ่มนักศึกษาที่ประเทศอย่างแท้จริง หากแต่เข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สามารถยกมาเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจลืมเลือนให้หายไปได้ในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเหตุการณ์นี้ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยเสมอมาพยายามเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่สังคมไทย ว่ายนายกฯในสมัยนั้นไม่ได้เข้ามาเพื่อต้องการบริหาร
                แนวทางการเมืองในวรรณกรรมเรื่องเป็นการมุ่งเสนอภาพลบ ในเรื่องของการเมืองไทยในอดีตที่ไม่สามารถแสดงบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทที่แสดงออกมาล้วนเป็นการทำเพื่อตังเองทั้งสิ้น ไม่สนใจว่า ประชาชนจะเป็นอย่างไร นับว่าเป็นการสะท้อนความล้มเหลวของการเมืองไทยในยุคนั้นที่มีประชาธิปไตยซึงไม่สารถแก้ปัญหาและทำงานเพื่อประชาชนได้เหมือนอย่างที่ตอนหาเสียง ไม่เคยจำสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน คำที่หาเสียงก็กลายเป็นเพียง นามธรรม ที่ไม่สามารถจับต้องได้มีเพียงคำพูดที่ที่ผ่านมาเหมือนดั่งลม ไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรมที่ประชาชนจะปลื้มปิติกับงานที่รัฐบาลสร้างสรรค์ขึ้น มีเพียงหยาดน้ำตาของความเสียใจที่บุคคลที่ประชาชนไว้ใจกลับกลายเป็นคนคนเดียวกับคนที่พรากวิญญาณไปจากร่างของเขาเสียเอง
ผู้ประพันธ์ผู้ถ่ายทอดความจริงผ่านปลายปากกา
                คนเขียนกาพย์กลอนนั้นมักจะมีวรรคทองหรือบทกวีอันเป็นดั่งตัวแทนของเขาอยู่ เช่น สุจิตต์ วงเทศ หรือ วิทยากรณ์ เชียงกูล แม้ทั้งสองจะดูห่างเหินงานบทกวีไป แต่บทกวีก็ยังกล่าวขวัญเป็นตัวแทนของคนทั้งสองอยู่ร่ำไป เหมือนเมื่อกล่าวถึงวิสา คัญทัพ ก็จะนึกถึง ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดินของเขาเสมอ
                จิระนันท์ พิตรปรีชา มีกาพย์กลอนที่เป็นมงกุฎกวีของเธอ มงกุฎกวีของจีระนันท์นี้มิได้สวมด้วยมือใคร ยุคสมัยเท่านั้นที่สร้างเธอมาพร้อมกับมงกุฎกวี
                เพราะกวีคือผลึกของความรู้สึกนึกคิด
                ยุคสมัยของจิระนันท์ได้เจียระไนจิระนันท์มาอย่างนี้
ช่วงวัยสิบกว่าขวบของคนเป็นช่วงพื้นฐานที่ชี้อนาคตชีวิตของคนได้ ช่วงสิบกว่าขวบของจิระนันท์ตกราว พ.. ๒๕๑o ตอนนั้นเด็กหญิงจิระนันท์ยังเป็นเด็กช่างอ่าน ช่างเขียน และช่างเรียนรู้อยู่เมืองตรัง เด็กต่างจังหวัด,คือเด็กภูธรไม่ใช่นครบาลนั้น, ได้เปรียบเด็กเมืองหลวงความใฝ่ฝันและทะเยอทะยาน
                ยุคจะเริ่มแสวงหาที่ว่านั้น ตกช่วงคาบลูกคาบดอกระหว่าง เฟื่องการรบ กับ “ชักธงรบ” ยุคที่กาพย์กลอนเล่นฉันทลักษณ์กันแม่นเปรี๊ยะ
                ดังนั้นการเริ่มยุคแสวงหาจึงมีนักกลอนไม่กี่คนนี้แหละที่เป็นผู้นำในการประสานมือด้านรูปแบบเข้ากับเนื้อหาใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง สุรศักดิ์ ศรีประพันธ์ เป็นคนหนึ่งในจำนวนน้อยนี้ และจิระนันท์ก็เริ่มจะเติบโตขึ้นมาภายใต้อิทธิพลนี้ กาพย์กลอนของจิระนันท์จึงได้รับอิทธิพลทั้งรูปแบบและเนื้อหาของยุคนั้นเต็มที่เช่นจากบท ห้วงคะนึง(๒๕๑๓)
                                หมอบพับเพียบเลียบริมน้ำปริ่มฝั่ง                  ตะแคงฟังนิยายเพลินจากเนินหญ้า
                ระบำมดคดเคี้ยวลับเคียวตา                                               หยาดน้ำฟ้าลากลิ้งทิ้งใบบอน
                                                                                                                                                (ห้วงคำนึง หน้า ๒)
                ลักษณะสลักเสลาเกลากลอนของจิระนันท์เช่นนี้น่าสนใจนักเพราะถัดจากนี้เมื่อถึงยุคชักธงรบ” เต็มที่ ก็ยิ่งมีนักกลอนน้อยคนเข้าไปอีกที่ยืนมาพร้อมรบอยู่ในเกราะของรูปแบบและเนื้อหาได้อย่างเป็นเอกภาพและทรงพลัง
                ภารกิจในสถานการณสู้รบทำให้จิระนันท์เติบโตเร็ว ไม่สมกับที่จิระนันท์บอกว่า
                                                                ดอกไม้                                   บานให้คุณค่า
                                                จงบานช้าช้า                                         แต่ว่ายั้งยืน
หนุ่มสาวยุคนั้นมีส่วนผลักดันประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปเท่ากับที่กระแสธารประวัติศาสตร์ก็ผลักดันให้หนุ่มสาวของเราเติบโตเร็วด้วย ช่วงผ่าน มหาวิทยาลัยคนกล้าหาญ ในป่าเขาทำให้จิระนันท์ได้ข้อสรุปเป็นบทกวี “ เศษธุลี (๒๕๒๔)                   
                                                                                ปรารถนาเป็นธุลีทุรน
                                                                                ดีกว่าทนกลั้นใจอยู่ใต้น้ำ
                                                                                                                 (เศษธุลี หน้า ๗๙)
                บทนี้ของจิระนันท์ก็ยังเป็นตัวแทนของผู้ผ่าน มหาวิทยาลัยคนกล้าหาญ” อีกนั่นเอง


ใบไม้ที่หายไป” ประชาธิปไตยล้มเหลวเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ
                                                เธออ่านนิยายใฝ่ฝัน                                           สงสัยค่ายุติธรรม์หายไปไหน
                                การต่อสู้เพื่อสิ่งนี้จะมีใคร                                                  เธอก้าวไปค้นความจริง (อิงนิยาย)
                                                                                                                                (ปณิธารหนุ่มสาว หน้า ๒๖)
                                                “ลูบเลือดลื่นผื่นทากฝากแผลพิษ                      เพ่งพินิจฟ้าหม่นค้นดาวใส
                                จนดึกดื่นตื่นดาฟ้ายังไกล                                                   หมดอาลัยในอารมณ์ ข่มตานอน
                                                จนรุ่งสาง…………                                            เตรียมเดินทางเถื่อนเหมือนวันก่อน
                                หากรับรู้ภูลาดตรงลงนคร                                                 วันสุดท้ายในดงดอนใช่, วันนี้
                                                                                                                                (ตะวันตกดินที่ซับฟ้าผ่า หน้า ๗๑)

                จากบทกวี ปณิธารหนุ่มสาว และตะวันตกดินที่ซับฟ้าผ่า ที่ยกมากล่าวข้างต้น เป็นภาพสะท้อนเหตุการณ์ใน ยุค 14 ตุลาฯ ได้อย่างชัดเจนซึ่งในบทแรกเป็นเรื่องราวของกลุ่มนักศึกษาที่สงสัยในความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จึงเริ่มที่จะค้นหาความจริงที่พวกเขาสงสัยจนนำมาสู่บทกลอน ตะวันตกดินที่ซับฟ้าผ่าที่เมื่อคนหนุ่มสาวตามหาความสงสัยในความไม่เป็นธรรม ในที่สุดก็พบกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เมื่อหนุ่มสาวยุคนั้นรวมกลุ่มเรียกร้องความเป็นธรรม แต่ด้วยเรื่องราวที่เรื้อรังเป็นจุดนำพาให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น เกิดการนองเลือด และจากเหตุการณ์การนองเลือดในครั้งนั้นทำให้ผู้ที่มีชีวิตลอดจากการถูกเข่นฆ่าต้องหลบหนีเข้าป่า และเมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไป ก็มีนโยบาย 66/2523ของพลเอก เปรม ติณสูรานน จึงทำให้กลุ่มหนุ่มสาวในยุคนั้นได้กลับเข้ามาในประเทศ แต่ด้วยภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังเป็นรอยแผลที่ในจิต ที่ยากจะลืมเลือนจึงทำให้จิระนันท์ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในครั้งนั้นที่รอดชีวิต นำมาถ่ายทอดผ่านวรรณกรรมเรื่อง ใบไม้ที่หายไป


บทสรุป
                วรรณกรรมกระจกสะท้อนมุมทางการเมือง ผ่านปลายปากกา
หนังสือเล่มนี้ น่าจะถือได้ว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์แห่งอารมณ์และความรู้สึกของคนร่วมยุคสมัยเป็นกวีนิพนธ์เพื่อประชาชนและชีวิตที่ได้อรรถรสหลายหลากและลุ่มลึกของคนรุ่นใหม่จนกล้าพูดได้เต็มปากว่าศรัทธาผลงานเล่มนี้ด้วยความจริงใจ (กอบกุล อิงคุทานนท์ ๒๕๓๒)
                ในด้านเทคนิคจิระนันท์ไม่เคยเป็นพวกอนุรักษ์นิยม.เขาเขียนกลอนเมื่อนึกจะเขียน และก็เขียนตามที่เขาเห็นว่าควรจะเขียนอย่างไร.ไม่เห็นมี่ไหนที่เกาะแน่อยู่กับ กรอบ’ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แต่ไม่ใช่ว่าจิระนันท์ไม่มี กรอบ หากเป็น กรอบ ของเขาเอง นั่นคือไม่มีกรอบที่ตายตัว
                                                                                                                                                                (นายผี ๒๕๒๒)
วรรณกรรมเรื่อง ใบไม้ที่หายไป ของ จิระนันท์  พิตรปรีชา เป็นอีกหนึ่งวรรณกรรมที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย  ในยุค 14 ตุลาฯ ของการเรียกร้องประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา อุดมการณ์ ความกล้าหาญ การต่อสู้ และความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม ระบอบการเมืองไทยที่ล้มเหลวภายใต้การนำของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร


                                                                                                                                                                                                          บรรณานุกรม
       จิระนันท์   พิตรปรีชาใบไม้ที่หายไป. พิมพ์ครั้งที่ 28. กรุงเทพฯแพรวสำนักพิมพ์, 2553
       ชื่อหนังสือใบไม้ที่หายไป ประเภทกวีนิพนธ์สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 .จากเว็บไซต์     
                   http://www.seawritethailand.com/index.php?name=writer&file=detail&id=276
       ใบไม้ที่หายไป หนังสือที่ควรอ่านสืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 .จากเว็บไซต์
                    http://www.learners.in.th/blogs/posts/71934
        กวีนิพนธ์ใบไม้ที่หายไป กับรางวัลซีไรต์. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 .จาก                      เว็บไซต์  http://www.iamtrang.com/?p=1761 
           บทความจากนางสาวอภิญญา   เหลาเกตุ               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น