วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี

     
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ค่าปรับอาญา  (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
    - ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน  300 บาท
    - ยื่นแบบเกิน      7 วัน  500 บาท
2. เงินเพิ่มชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน  ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
3. เบี้ยปรับการเสียค่าเบี้ยปรับแบ่งได้ 2 กรณี คือกรณียิ่นแบบเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) กับ กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา

เบี้ยปรับ
กรณียื่นเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา
กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา
ยื่นแบบไม่เกิน 15 วัน
ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 2%
ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 2%
ยื่นแบบไม่เกิน 30 วัน
ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 5%
ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 5%
ยื่นแบบไม่เกิน 60 วัน
ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 10%
ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 10%
ยื่นแบบเกิน 60 วันขึ้นไป
ภาษีที่ต้องชำระ 1 เท่า X 20%
ภาษีที่ต้องชำระ 2 เท่า X 20%

4. การนับวัน กรณียื่นแบบเพิ่มเติมและไม่ได้ยื่นแบบ ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเดือนก่อน (หรือวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันที่ 15 ก็ได้ กรณีที่วันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ วันสุดท้ายของการยื่นแบบก็จะเป็นวันที่ 17
ตัวอย่าง  ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 15 ของเดือนก่อนและเป็นเดือนที่มีวัน 31 วัน วันครบกำหนดชำระภาษี ถ้าต้องการชำระภายใน 30 วัน จะตรงกับวันที่ 14 ของเดือนถัดไป และถ้าวันที่ 14 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ต้องไปชำระก่อน คือชำระในวันที่ 13 ถ้าไปชำระหลังวันที่ 14 จำนวนวันก็จะเกิน 30 วัน ซึ่งจะทำให้ค่าเบี้ยปรับที่ต้องเสีย ขยับจาก 5% ไปเป็น 10% แทน
อีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 17 (บังเอิญเดือนก่อนวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ ทำให้ต้องเลื่อนมาจ่ายวันจันทร์แทน) และเป็นเดือนที่มีวัน 30 วัน ถ้าชำระภายใน 30 วัน จะต้องชำระภายในวันที่ 17 ของเดือนถัดไป
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 3, 53)
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
    - ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน  100 บาท
    - ยื่นแบบเกิน      7 วัน  200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน
เงินสมทบประกันสังคม
   - ขั้นต่ำ  1,650  X  5%      =   83  บาท/เดือน
   - ขั้นสูง  15,000 X  5%    =  750  บาท/เดือน
เบี้ยปรับ ชำระในอัตรา 2% ต่อเดือน
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 กรณียื่นแบบ ภงด.90 ภงด.91 เกินกำหนดเวลา
  ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 กรณียื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา
  ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  เงินเพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
 กรณียื่นแบบ ภงด.50 เกินกำหนดเวลา
  ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท
  เงินเพิ่มอีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าที่กรมพัฒนาธุรกิจ
การยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน ค่าปรับจะมีอยู่ 2 ส่วนนะครับคือ ในส่วนของกรมสรรพากร กับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ลองมาดูในส่วนของกรมสรรพากรกันก่อน คุณต้องเสียค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่เกิน 2,000 บาท เค้าใช้คำว่าไม่เกิน 2,000 บาทนะครับ แต่แนวปฏิบัติของสรรพากรจะเรียกเก็บค่าปรับ 1,000 บาท สำหรับแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเกิน 7 วัน ค่าปรับจะอยู่ที่ 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ถ้าคุณไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ผมแนบตารางค่าปรับมาให้ (ดูตารางค่าปรับหน้าสุดท้าย) การจ่ายค่าปรับให้ดูในเรื่องของระยะเวลา ถ้าคุณยื่นล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับจะอยู่ที่ 1,200 บาท โดยจ่ายค่าปรับในนามบริษัท 600 บาท และจ่ายค่าปรับในนามกรรมการอีก 600 บาท

คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป
2. บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ เช่น 1. ประชุมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 30 เมษายน ของเดือนถัดไป 2. ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป
รายละเอียดคำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
1.  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย  และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร  ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี   ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป
2.  บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด  ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง  แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่  โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน     4  เดือน  นับแต่วันปิดบัญชี  ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี  จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30  เมษายน ของปีถัดไป  มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
 งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว  จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่  เช่น
1. ประชุมเมื่อวันที่  31  มีนาคม  จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่  30  เมษายน ของเดือนถัดไป
2. ประชุมเมื่อวันที่  20  เมษายน  จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่  20  พฤษภาคม ของเดือนถัดไป
              ***** คำเตือน *****  
1.   เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว  ขอให้นิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดรีบดำเนินการจัดส่งงบการเงินก่อนเดือนพฤษภาคม  หากนำมายื่นในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมอาจมีปัญหาไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็วเท่าที่ควร
2.   กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะไม่รับฝากงบการเงินที่ยื่นครั้งละจำนวนมากของสำนักบริการรับทำบัญชีอีกต่อไป
3.   ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้าเกินกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน  50,000  บาท  และปรับผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอีกไม่เกิน  50,000  บาทด้วย  ทั้งนี้  กรมได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะเวลาที่ยื่นงบการเงิน  หากยื่นงบการเงินล่าช้าอัตราค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้น
  
                               ตารางอัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้า

สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป

1.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ
1
ทุกประเภทยกเว้นกิจการร่วมค้า
600
600
1,200
2
กิจการร่วมค้า
600
-
600

2.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
1,200
1,200
2,400
2
บริษัทจำกัด
2,400
2,400
4,800
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
6,000
6,000
12,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
12,000
12,000
24,000
5
กิจการร่วมค้า
6,000
-
6,000

3.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน

ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2,400
2,400
4,800
2
บริษัทจำกัด
4,800
4,800
9,600
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
12,000
12,000
24,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
24,000
24,000
48,000
5
กิจการร่วมค้า
12,000
-
12,000

4.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
3,600
3,600
7,200
2
บริษัทจำกัด
6,000
6,000
12,000
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
18,000
18,000
36,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
36,000
36,000
72,000
5
กิจการร่วมค้า
18,000
-
18,000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น