วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ทฤษฏีความรัก เนื้อหาต้นฉบับเขียนโดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ

ทฤษฏีความรัก 

เนื้อหาบางส่วนมาจากงานเขียนโดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ 

Triangle of Love

นักจิตวิทยาชื่อ ศ.ดร. Robert Sternberg แห่งภาคจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเยลล์ ได้พัฒนาทฤษฎีความรักขึ้นมาว่าด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ เรียกว่าทฤษฏี Triangle of Love ที่ก่อให้เกิดความรักในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมาอธิบายได้ โดยปลายของสามเหลี่ยมแต่ละด้าน คือ
Intimacy คือ ความรู้สึกใกล้ชิด ผูกพัน และมีพันธนาการใจ
Passion คือ ความรู้สึกหลงใหลไปในทางชู้สาว ถูกใจในรูปภายนอก และมีเป้าหมายอยากมีสัมพันธ์สวาท
Commitment คือ ในระยะสั้นการตัดสินใจอะไรต้องทำร่วมกับอีกคน และในระยะยาวมีการวางแผนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตร่วมกัน

องค์ประกอบ 3 ด้าน ที่จะอธิบายสถานสภาพ "ความรัก" โดยมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน 7 ข้อดังนี้

1. Liking (ชอบ) หรือ Intimacy
หากมีความรู้สึกด้านนี้เพียงอย่างเดียว คือ กรณีที่ไม่มีความรู้สึกรักจริงเกิดขึ้นเลย Sternberg กล่าวว่าเป็นความรู้สึกที่มีต่อเพื่อนสนิทเป็นเพื่อนแท้หรือคุณลักษณะของมิตรภาพที่ดี ไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไปได้ในทาง passion หรือ long-term commitment

2. Infatuated love (หลงเสน่ห์) หรือ Passion
หากมีความรู้สึกด้านนี้เพียงอย่างเดียว คือ เป็นความรู้สึกที่คนทั่วไปกล่าวว่า “Love at first sight” แต่ไม่ได้มีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด (Intimacy) กันมาก่อน และไม่มีการวางแผนอนาคตที่จะใช้ชีวิตด้วยกัน (Commitment) และความรู้สึกนี้สามารถหายไปได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

3. Empty love (หมดรัก) หรือ Commitment
หากมีความรู้สึกด้านนี้เพียงอย่างเดียว คือ บางครั้งความรักจืดชืดจนหมดรักไปแล้ว แต่ยังมี Commitment ร่วมกันหรือมีอนาคตที่ต้องชีวิตร่วมกันต่อไป ไม่มีทั้ง Intimacy และ Passion อีกแล้ว เหมือนคนที่แต่งงานกันมานาน ในหลายวัฒนธรรมพิธีการแต่งงานนั้น คือการเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่เข้าสู่ Empty love

4. Romantic love (รักแบบหวือหวา) หรือ Passion + Intimacy
คือ ความรักร้อนแรงฉันท์ชู้สาวที่มีพันธนาการทางอารมณ์และทางร่างกาย เพื่อสมปรารถนาด้านตัณหาเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการวางแผนอนาคตที่จะใช้ชีวิตด้วยกัน (Commitment)

5. Companionate love (รักแบบเห็นอกเห็นใจกัน) หรือ Intimacy + Commitment
คือ ความรักที่พบในคู่แต่งงานกันไปแล้ว ซึ่ง Passion ได้หมดไปแล้ว แต่ผลทางจิตใจยังอยู่ และยังคงตกลงปลงใจใช้ชีวิตมีอนาคตร่วมกันต่อไป
Compassionate love ไม่ได้เป็นความรักเฉพาะคู่รักเท่านั้น แต่เป็นรูปแบบความรักที่เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปที่เราไม่ได้ปรารถนาด้านตัณหา และเป็นความรักที่ยั่งยืนที่สุด เพราะองค์ประกอบพิเศษของ Commitment นั่นเอง เช่น ความรัก

ของสมาชิกในครอบครัว จะเห็นว่ามี Intimacy + Commitment เช่นกัน หรือความรักแบบนี้กับเพื่อนสนิทที่วางแผนจะมีอนาคตร่วมกันทำงานร่วมกัน ถือเป็นความรักในรูปแบบที่ยาวนานที่สุด

Fatuous love (รักเร็วดังสายฟ้า) หรือ Passion + Commitment คือ ความรักที่จบด้วยการแต่งงานที่แสนรวดเร็ว เช่น การจับคู่ดูตัวแล้วแต่งงานกันเลย หรือรักกันไม่กี่สัปดาห์แล้วแต่งงานกันเลย ความรักแบบนี้ขาดความผูกพันใกล้ชิดหรือขาด Intimacy นั่นเอง

Consummate love (รักที่สมบูรณ์แบบ) หรือ Intimacy + Passion + Commitment เป็น ความรักจริงในอุดมคติที่ครบทั้ง 3 ด้าน และยั่งยืนยาวนาน ความรักในรูปแบบนี้เป็นสิ่งที่คนทั้งโลกมุ่งหวัง แต่น้อยคนนักที่จะประสบความสำเร็จในความรัก

Sternberg กล่าวเตือนไว้ว่า แม้วันหนึ่งคุณได้มีความรักแบบ consummate love สำเร็จแล้วก็ตาม แต่การรักษามันให้คงอยู่นั้นยากกว่ามากนัก

Sternberg ให้ความสำคัญอย่างมากกับองค์ประกอบความรักในทางปฏิบัติ เขากล่าวไว้ว่าสุดจะพรรณนาได้ว่า “"even the greatest of loves can die" (1987, p.341) แม้แต่ความรักแบบ consummate love ก็ไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน อาทิเช่น ถ้าหาก Passion หายไปในเวลาใดก็ตาม ย่อมส่งผลว่าความรักนั้นมิใช่ consummate love อีกแล้ว



Poramez's Model ทฤษฎีวงจรชีวิตรัก
 Poramez's love life cycle Model วางเป็นแนวทางทฤษฎีวงจรชีวิตรัก (Love Life Cycle)
ให้เห็นภาพพอเข้าใจง่ายดังนี้

Stage ที่ 1 
เริ่มจีบกัน (flirting stage)
ความรักฟักตัวโลกนี้เป็นสีชมพู เกิดเรื่องราวปิ๊งปั๊งมีเรื่องราวประทับใจแอบเดินสวนสบตากันบ้าง กดไลค์เฟสบุ๊คนแรกเสมอเมื่อเราโพสต์อะไร เริ่มคุยทักแชต รู้จักมักคุ้น เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ใจตรงกันบ้าง เข้าอกเข้าใจกันบ้าง ไปเดตดูหนังฟังเพลงกินข้าว เกิดเป็นความผูกพันทางใจ Intimacy ได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว

Stage ที่ 2
ความรักเบ่งบาน (Growth Stage)
ตกลงปลงใจเป็นแฟนกันแล้ว จับมือถือแขนเรียกกันว่าแฟน ที่รักจ๊ะจ๊าหวานฉ่ำ (เรียกว่าบางคนน่าจะได้เสียกันตอนนี้ล่ะ) เส้นกราฟความรักโรแมนติกตั้งชัน คู่ที่อินเลิฟมากกราฟจะชันมากเกือบเป็นเส้นตรงความรักเติบโตอย่างรวดเร็ว เรียกว่าหลงใหลใน passion ในปลายช่วงระยะเวลานี้เชื่อว่าคือการขอแต่งงานกันหรือเริ่มอยู่กินด้วยกันแล้ว

Stage ที่ 3 
จุดอิ่มตัว (Saturated Stage)
เมื่อถึงเป้าหมายความรัก ก็เกิดความอิ่มตัว ความรักไม่สามารถอินเลิฟหรือโรแมนติกกว่านี้ได้แล้ว ไม่ใช่ว่าหมดรักนะ ยังรักกันอยู่และยังคงมีอนาคตที่ฝันร่วมกันกับคนรักเป็น Commitment อาจจะเป็นไปได้ที่ความรักจะอยู่ในช่วงระยะเวลานี้ตลอดไปจนกว่าจะอัลไซเมอร์

Stage ที่ 4 
ช่วงเวลาแสงสว่างทางปัญญา หรือ Enlightenment Stage
เป็นช่วงเวลาเลิกงานปาร์ตี้เฮฮา เลยผ่านจุดอิ่มตัวของความรักมาได้สักพักแล้ว มันอืดๆ เบื่อๆ ช่วงเวลานี้เรามองกลับไปยังจุดเริ่มต้นความรักจะเห็นความเป็นไปทั้งหมด และมันมีสองทางที่จะเป็นไปได้เมื่อผ่าน จุดอิ่มตัวในช่วงระยะเวลาที่ 3 แล้วนั่นคือ

Stage ที่ 4.1 ล่มสลาย (Decline) หมดรักกันแล้ว จบไปเลย เมื่อเลยผ่านระยะเวลาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ก็หมดรักไม่อยากจะอยู่ด้วยกันแล้ว แม้ไม่ได้ทะเลาะกันแต่ก็ไม่อยากเห็นหน้ากัน กราฟความรักโรแมนติกลดลงฮวบฮาบ อาจจะหมดรักได้ในวันเดียวเช่นกันกับกราฟความชันที่รักได้ในวันเดียว อย่างไรก็ตามเป็นไปได้ในคู่รักที่ทะเลาะกัน คุณค่าความรักโรมแมนติกกราฟลดลงจนติดลบ นอกจากไม่รักกันแล้วยังเกลียดกันอีก

Stage ที่ 4.2 รักเธอตลอดไป (Still loving you) เรียกชื่อช่วงเวลานี้อย่างกับชื่อเพลงของวงร็อคก้องโลก สกอร์เปี้ยน เชื่อว่าเป็นไปได้ว่าจะมีคนรักใครสักคนยาวนานตลอดไป แต่ไม่เชื่อว่ากราฟความรักโรแมนติกจะสูงเสมอจุดสูงสุดและยาวนานตลอดไป เป็นความเชื่อส่วนบุคคลของผมไม่ได้เกิดจากการวิจัย
Stage ที่ 4 ช่วงเวลาแสงสว่างทางปัญญา นั้นยังมีกรณีเพิ่มเติมที่คาดไว้ว่าจะมีโอกาสจะเป็นไปได้ นั่นคือ "การมีแฟนอยู่แล้วแต่เริ่มหลงรักคนอื่น"


อ้างอิง
Sternberg, R. J. (1986) A triangular theory of love. Psychological Review, 93,119-135.
Sternberg, R. J. (1988) The Triangle of Love: Intimacy, Passion, Commitment, Basic Books (ISBN 0465087469)


อ่านงานเขียนต้นฉบับได้ที่ https://www.gotoknow.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น