วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

เกินพอดีคือไม่พอดี

ไม่ได้เขียนผ่านตัวอักษรเสียนาน

" นำมาทำไม วัตถุประสงค์ที่ตีพิมพ์มาเพื่ออะไร รู้ไหมเอาหนังสือมาถวายแบบนี้ โยมไม่ได้บุญหรอก คนที่จะได้บุญคือพระ เพราะพระต้องนำไปแจกอีก
ทำไมโยมไม่เอาไปแจกเอง คนส่วนใหญ่เอาหนังสือไป ไม่อ่านกันหรอก เปิดผ่านไปแล้วก็วางเอาไว้ แบบนี้จะได้บุญอะไร โยมทำแบบนี้ก็เหมือนทำกำไรให้สำนักพิมพ์ ให้ได้เงิน บุญก็ไม่ได้ ต้องเสียเงินอีก บุญเกิดจากอะไร เกิดจากการภาวนา เพียร ถือศีล แบบนี้ถึงจะได้บุญ ( อันนี้เราก็ทำค่ะ เป็นปกติ ) ......... หรือไม่ก็บริจาคเงินเอาไปพัฒนาวัด ยังจะได้บุญมากกว่า "  

ตัดมาจากพันธ์ทิพย์

พอดีมีโอกาสถวายหนังสือสวดมนต์เย็น พระท่านต้องการ 100 เล่ม มีคนร่วมบริจาค 200 เล่ม
อีก 100 เล่ม เลยรอทำถวายวัดที่มีความต้องการหนังสือสวดมนต์

เมื่อวานมีโทรศัพท์จากสำนักพิมพ์ว่า "พิมพ์ทั้งหมด 300 เล่มต้องการอีกไหม"
อืมมมมม น่าคิด

เกินพอดีคือไม่พอดี อุปสงค์ อุปทาน ต้องตรงกัน

“อกฺขรา เอกํ เอกญฺจ พุทฺธรูปํ สมํ สิยา

สร้างอักขรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์”
อานิสงส์แจกหนังสือธรรมะเป็นธรรมทาน 11 ประการ
ธรรมทาน เป็นเครื่องเตือนสติให้เราระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต เป็นหนทางหนึ่ง อย่างเช่นการรู้คุณของพ่อแม่ รู้คุณแผ่นดินเกิด คุณธรรมทั้งหลายนี้ ถือว่าเป็นต้นน้ำแห่งพระธรรม(ความเป็นจริง) ที่สามารถฉุดช่วยผู้คนให้พ้นภัยเวียนได้ทัน เพราะการชี้แนะ จะด้วยกุศโลบายใดๆ ถือเป็นเป็นมหากุศลยิ่งกว่าสร้างเจดีย์แก้วเจ็ดชั้น

ขอ ให้พระธรรมอันลึกซึ้ง จงสถิตอยู่ทุกดวงจิต คอยติดตามปกป้องคุ้มครอง ช่วยเตือนสติให้บังเกิดความสำนึกรู้คุณของเหตุและรู้คุณของผล จากเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ อันเป็นผลตอบแทนแก่บุพการีให้สมกับความเป็นมนุษย์ทั้งหลายอย่างแท้จริง


1. กรรมเวรจากอดีตชาติจะได้ลบล้าง

2. หนี้เวรจะได้คลี่คลาย พ้นภัยจากทะเลทุกข์

3. โรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวรจะพ้นไป

4. สามีภรรยาที่แตกแยกจะคืนดีต่อกัน

5. วิญญาณของเด็กที่แท้งในท้องจะได้ไปเกิดใหม่

6. กิจการงานจะราบรื่นสมความปรารถนา

7. บุตรจะเฉลียวฉลาดและเจริญรุ่งเรือง

8. บารมีคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข

9. พ่อแม่จะมีอายุยืน

10. ลูกหลานเกเรจะเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี

11. วิญญาณทุกข์ของบรรพบุรุษจะพ้นจากการถูกทรมานไปสู่สุคติ

การแจกหนังสือเป็นธรรมทาน อานิสงส์จากการให้ธรรมทาน จะเป็นไปตามความมุ่งมั่นศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งผู้ให้จะสัมผัสรับรู้ได้เอง.

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

แนวคิดทฤษฏีการบริหารการจัดการ cr.by adisony


แนวคิดนักบริหารกับมิติการจัดการ  : Thomas J. Peters   ผลงานที่ยอดเยี่ยม  คือ  Insearch of Excellence


คุณสมบัติที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ 8 ประการ
1.  การมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ (Bias for Action)
2.  การมีความใกล้ชิดกับลูกค้า (Close to the Customer)
3.  การให้ความอิสระในการทำงานและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ (Autonomy and Entrepreneurship)
4.  การเพิ่มผลผลิตโดยพนักงาน (Productivity Through People)
5.  การติดตามงานอย่างใกล้ชิดและการใช้ค่านิยมเป็นแรงผลักดัน (Hands-on and Value Driven)
6.  การทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ (Stick to the Knitting)
7.  การมีรูปแบบที่เรียบง่ายและใช้พนักงานอย่างมีประสิทธิภา   (Simple Form and Lean Staff)
8.  การเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน (Simultaneous Loose tight Properties)

องค์ประกอบองค์การแห่งความเป็นเลิศ


1.            Robert  H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์  เป็นชาวอเมริกัน จบการศึกษา ปริญญาตรีgeophysicsจาก Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA จาก Stanford University

ประวัติการทำงานWaterman เป็นที่รู้จักเคียงคู่กันมากับ Tom Peters ที่โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ In Search of Excellenceและยังเป็นนักพูดชั้นเยี่ยม   เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company ที่เดียวกับ Tom Peters เป็นเวลา 21 ปี  และมีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. Waterman ใช้คำว่า Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้น   คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน
                       ท่านให้แนวคิดว่ายุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้  สิ่งสำคัญที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหาในหนังสือAdhocracy: the Power to Change ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า 25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
โธมัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และโรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์(Robert H.Waterman,Jr.) ในการค้นหาความเป็นเลิศ ในช่วงต้นปี 1977   พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานนอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด 7ปัจจัยได้แก่
โครงสร้าง(structure)
กลยุทธ์(strategy)
 
บุคลากร(staff)
สไตล์การจัดการ(style)
ระบบ(systems)
ค่านิยมร่วม(shared value)
ทักษะ(skills)
ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์ ซึ่งผู้จัดการในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก5 ตัวที่ค้นพบใหม่ในอดีตผู้จัดการมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ แมคคินซีย์ เรียกตัวแปรเหล่านี้ว่า กรอบ 7 – S
การจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพ
Thomas J. Peters & Robert H. Waterman, Jr. เขียนในหนังสือชื่อ  In Search of lExcellence. เรียบเรียงเป็นไทยโดย วีรชัย ตันติวีระวิทยา(กทมซีเอ็ดยูเคชั่น, 2530)   คุณลักษณะ 8 ประการของเชิงการบริหารของบริษัทอเมริกันที่ประสบความสำเร็จ คือ
1. มุ่งเน้นการปฏิบัติ (a bias for action)
2. มีความใกล้ชิดกับลูกค้า (close to the customer)
3. มีความอิสระในการทำงานและความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ ((autonomy and entrepreneur-ship)
4. เพิ่มผลผลิตโดยอาศัยพนักงาน (productivity through people)
5. สัมผัสกับงานอย่างใกล้ชิดและความเชื่อมั่นในคุณค่าเป็นแรงผลักดัน (hands-on and value driven)
6. ทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญและเกี่ยวเนื่อง (stick to the  knitting)
7. รูปแบบเรียบง่ายธรรมดา พนักงานอำนวยการหรือส่วนกลางมีจำกัด (simple form and lean staff)
8. เข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน (simultaneous loose-tight properties)


McKinsey 7-S Framework


ผลจากการศึกษาดังกล่าวได้ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือ ชื่อ    In Search of Excellence ปี 1982  พอสรุปได้ดังนี้
   Structure         ðรูปแบบเรียบง่ายธรรมดา พนักงานอำนวยการมีจำกัด  (simple form & lean staff)
   Strategy           ðมีความใกล้ชิดกับลูกค้า (close to the customer)
                                ðทำธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญและเกี่ยวเนื่อง   (stick to the knitting)
   Staff                    ð มีอิสระในการทำงานและความรู้สึกเป็นเจ้าของ   (autonomy & entrepreneurship)
                              ð เพิ่มผลิตภาพโดยพนักงาน  (productivity through people)         
 Style                    ðสัมผัสกับงานอย่างใกล้ชิด  (hands-on)
 Shared value   ðความเชื่อมั่นในค่านิยมเป็นแรงผลักดัน    (value driven)
 System                   ðมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ
 Skill                       ðเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลา เดียวกัน   (simultaneous  loose-tight   properties     
การนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับสถานประกอบการและหน่วยงานในประเทศไทย
บริษัทฯ ในกลุ่มสมบูรณ์ได้ให้โอกาสกับพนักงานในการพัฒนางานอาสาสมัครอย่างต่อเนื่องทุกๆ สองหรือสามเดือน โดยพนักงานเป็นผู้ค้นหาปัญหาที่อยู่รอบโรงงานและมาประชุมเพื่อเลือกสถานที่ในการทำกิจกรรมอาสา โดยที่บริษัทฯจะสนับสนุนค่ารถ ค่าอาหารและให้เวลากับ พนักงานไปทำกิจกรรมอาสาเหล่านั้น เป็นต้นกิจกรรมอาสาสมัครขององค์กรธุรกิจข้างต้น เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหารและพนักงาน ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรธุรกิจ มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ศึกษาถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเมื่อทำกิจกรรมอาสาสมัคร พนักงาน นับตั้งแต่สังคมหรือชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
1.องค์กรธุรกิจที่ได้ชื่อเสียง และการยอมรับ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีจากสังคม
2.หุ้นส่วนหรือนักลงทุน ได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่ไม่ถูกกระทบ(กรณีที่บริษัทถูกประท้วงหรือได้รับการจัดลำดับใน Dow Jones Sustainability Index(เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
3.พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดความสามัคคี และการสร้าง (Team Building) ขวัญ กำลังใจและความภาคภูมิใจในองค์กร และมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น
4.ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในสินค้า และที่สำคัญมีงานวิจัยจำนวนมากที่สอบถามผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่แสดงออกชัดเจนในการทำดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หากสินค้ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน