วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โครงการรัฐบาลปี 2561 "สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ"

เปิดเงื่อนไขสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ สานฝันคนถือบัตรคนจนกู้ซื้อบ้าน

โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สานฝันคนอยากมีบ้าน เช็กรายละเอียดเลย ใครกู้ได้-กู้ไม่ได้ คิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง   

          มีข่าวดีกันไม่หยุดเลยกับกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน หลังจากล่าสุดรัฐบาลได้มอบของขวัญผ่าน "โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ" ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและบุคลากรภาครัฐ ได้มีบ้านในฝันเป็นของตัวเอง ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งก็เปิดให้ยื่นคำขอกันแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 ถือเป็นโครงการที่น่าสนใจทีเดียว สำหรับคนที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง ดังนั้น มาลองเช็กรายละเอียดของโครงการกันแบบชัด ๆ กันดีกว่า ว่ามีหลักเกณฑ์ เงื่อนไขอะไรบ้าง 

สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ใครกู้ได้บ้าง ?

          ผู้ที่มีสิทธิขอเงินกู้ในโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ประกอบด้วย

          1. ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  

          2. ประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน ทั้งประกอบอาชีพอิสระและประจำ

          3. ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐ

          4. ผู้ที่มีภูมิลำเนาหรือมีความต้องการที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส และปัตตานี (เฉพาะโครงการในพื้นที่ชายแดนใต้)

          โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์เตรียมวงเงิน 60,000 ล้านบาทไว้สำหรับโครงการนี้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
          - วงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 
          - วงเงิน 20,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน
          - วงเงิน 30,000 ล้านบาท สำหรับบุคลากรภาครัฐ 


สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ กู้เงินไปทำอะไรได้บ้าง ?

          โครงการนี้ให้สิทธิผู้กู้สามารถนำเงินไปใช้เพื่อที่อยู่อาศัย โดยครอบคลุมทั้งการซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด, ปลูกสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร และเพื่อซื้ออาคารหรือห้องชุดบนที่ดินของรัฐ

          นอกจากนี้ สำหรับบุคลากรภาครัฐยังสามารถนำเงินไปใช้สำหรับไถ่ถอนจำนองที่ดินเปล่า ที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดจากสถาบันการเงินอื่น, ต่อเติม ขยาย หรือซ่อมแซมอาคาร, ชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รวมถึงซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย
เงื่อนไข หลักเกณฑ์ สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

          การปล่อยสินเชื่อบ้าน ธอส. จะแบ่งออกเป็น 3 โครงการด้วยกัน คือ 1. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 2. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (บุคลากรภาครัฐ) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 

          เป็นโครงการที่ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการรัฐ และประชาชนที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน ทั้งที่ประกอบอาชีพประจำและอิสระ 

          วงเงิน : 
          - สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 1 ล้านบาท  
          - สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท/เดือน วงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท  

          ระยะเวลาผ่อน : ระยะเวลาการกู้ไม่น้อยกว่า 7 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

   ค่าธรรมเนียม : ผู้กู้จะได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม ดังนี้
          - ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ 
          - ค่าประเมินราคาหลักประกัน
          - ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 
          - ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง 

          ตรวจสอบเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการสมัครได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 

รัฐบาลชุดนี้มีความเข้มแข็งในการออก Promotion มาเพื่อเป็นการจูงใจประชาชนค่ะ😊

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น